Saturday, July 23, 2011

แก้ปัญหาข้าวเป็นเช้ื้อรา

แก้ปัญหาข้าวเป็นเช้ื้อรา
http://youtu.be/XzDW4mqPGU0
http://youtu.be/HFUvvZcPAEw
http://www.youtube.com/watch?v=aInFGgnCNMw&feature=player_embedded
แก้ปัญหาหมายถึงอะไร?
  • หมาย ถึง เกิดปัญหาขึ้น ก็ต้องกำจัดจัดให้หมดไป นาข้าวมีปัญหาด้วยหรือ หลายคนอาจเถียงในใจ เพราะคิดอยู่เสมอว่า การปลูกข้าวถือว่าง่ายที่สุดกับการปลูกพืชชนิดอื่น  และตั้งแต่สมัยโบราณ  ปู่ ย่า ตา ยาย  ทำนาปลูกข้าวไม่เห็นมีปัญหาอะไร?   
คนโบราณเขาปลูกข้าวกันอย่างไรถึงได้ไม่มีปัญหา?
  • พันธุ์ ข้าวเขาก็ให้ธรรมชาติคัดให้  แต่ละพื้นที่  แต่ละภาคของประเทศ  ก็ใช้พันธุ์ข้าวแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของพื้นที่  จึงมีความต้านทานต่อปัญหาต่างๆ  ได้เป็นอย่างดี  ในที่นี้คงไม่ต้องแนะนำพันธุ์ข้าวโบราณเพราะในปัจจุบันไม่มีคนนิยมปลูกแล้ว ถึงมีบ้างก็เล็กน้อยด้วยสาเหตุหลายอย่าง  อย่างที่สำคัญคือเก็บผลผลิตได้น้อย  อาจลืมไปว่า  พันธุ์ข้าวโบราณเป็นสายพัธุ์ข้าวที่มีปัญหาน้อยที่สุด
คนโบราณทำนาปีละครั้งได้ประโยชน์สูงสุด
  • คนโบราณไม่เดือดร้อนกับ ชีวิตประจำวัน  มีความเป็นอยู่แบบสุขสบาย  ไม่อดอยาก  ที่นาก็มีมากแล้วแต่จะจับจองแผ้วถางเท่าไรก็ได้สุดแต่กำลังของตน  จนเป็นคำกล่าวติดปากเรื่อยมาว่า  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  นอกจากความอุดมสมบุรณ์ของดินในสมัยโบราณแล้ว  หลังฤดูเก็บเกี่ยว  เดือนธันวามคม-เดือนมกราคม  กว่าจะเริ่มฤดูทำนาในเดือน พฤษภาคม  ทำให้ดินมีโอกาสพักตัว 3-4 เดือน  และคนโบราณทำนาปลุกข้าวโดยไม่ต้องใช้สารเคมีซักนิดเดียว  จึงทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์แบบต่อเนื่องและยืนยาว
ดินมที่สมบูรณ์  หมายถึงต้นข้าวที่แข็งแรง
  • คำว่าความสมบูรณ์ของ ดินหมายถึง  สภาพดินที่ร่วนซุย  อุดมไปด้วยอินทรีย์วัตถุ  มีทั้งธาตุอาหารหลักอาหารรองครบถ้วน  ต้นข้าวจึงมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง  นั่นหมายถึงความต้านทานต่อ  โรค  แมลง  ได้อย่างดีทีเดียว
50  ปีให้หลัง  มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 
  • มีพันธุ์ข้าวลูกผสมเกิดขึ้นมาใหม่  ผลวิจัยจากนักวิชาการ  โดยมีสายพันธุ์ใหม่มาเรื่อยๆ  แต่ละสายพันธุ์เน้นการ เพิ่มผลผลิตให้ได้มากๆ  และอายุการเก็บเกี่ยวสั้นลง 
พันธุ์ข้าวที่ธรรมชาติคัด  กับมนุษย์คัด  มีความแตกต่างกันหลายอย่าง
  • พันธุ์ ข้าวลูกผสม  จะเป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อแสง  คือออกรวงและเก็บเกี่ยวตามอายุ  ส่วนใหญ่จะมีอายุการเก็บเกี่ยว 120 วัน  ซึ่งสามารถปลุกได้ตลอดทั้งปี  ในเขตชลประทาน  1 ปีสามารถปลูกได้ 1-3 ครั้ง  ที่เรียกว่าการปลูกข้าวนาปรัง  ต่างจากพันธุ์ข้าวที่ธรรมชาตคัด  ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่ไวต่อแสง  จะออกรวงในเดือนที่มี  กลางวัน  สั้นกว่า  เวลากลางคืน  คือเวลากลางวัน  11 ชม. กลางคืน  13 ชม.  จะอยู่ในช่วงปลายเดือน  ตุลาคม  จึงสามารถปลูกได้ปีละ  1  ครั้งเท่านั้น  ที่เรียกว่า  ข้าวนาปี  
ปัจจุบัน  เริ่มมีความต้องการปลูกข้าวพัธุ์ลูกผสมมากขึ้นเรื่อยๆ 
  • ประชากรเพิ่มมากขึ้น  ความต้องการอาหารก้เพิ่มตามมา  พื้นที่ทำนาแต่ละครัวเรือนก็ลดน้อยลงไป  มีทางเดียวเท่านั้นคือ  ต้องเพิ่มผลผลิต  ให้ได้มากที่สุด  ในเขตชลประทาน  มีการทำนาปลูกข้าวกันปีละ  3-4  ครั้ง  แรกๆ  ก็ดีมากๆ  ชาวนามีคุณภาพมากขึ้น  มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในขณะที่มีที่ดินปลูกข้าวกันครอบครัวละไม่มากนัก  หารู้ไม่ว่าการทำนาของชาวนาในปัจจุบัน  คือต้นเหตุของปัญหา
ปัญหาที่เกิดจากพันธุ์ข้าวลูกผสม
  • ส่วนใหญ่พันธุ์ข้าว  ลูกผสมจะให้ผลผลิตมากก็จริง  แต่อ่อนแอ  ไม่ต้านทานโรคแมลง  เช่น  ไม่ต้านทานโรคเขียวเตี้ย  โรคไหม้  โรคใจุดสีน้ำตาล  หนอนกอ  หนอนห่อใบข้าว  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว  เป็นต้น   แต่พอมาพูดถึงคนทำนา  ก็ไม่ได้เกลงกลัวปัญหาเหล่านี้สักเท่าไหร่  เขาคิดอยู่เสมอว่า  ถ้าปัญหาเกิด  ก็ใช้  สารเคมีกำจัด  สุดท้ายก็กำจัดได้เพียงชั่วครู่  พอโรคแมลงดื้อต่อสารเคมี  ก็ไม่สามารถกำจัดได้  ต้องเปลี่ยนสารชนิดใหม่ๆ  ไปเรื่อยๆ  จนปัจุบันมี่สารเคมีที่กำจัดโรคแมลงในท้องตลาด  มากกว่า  108 ชนิด
ปัญหาที่เกิดจากวิธีการปลูก
  • การเข้าใจวิธีปลูกข้าว  จะช่วยลดปัญหาได้เป็นอย่างดี  แต่ก่อนนิยมใช้วิธีปักดำ  โดยการเพาะกล้าในแปลงเล็กๆ  แล้วจึงย้ายกล้าลงไปปักดำในแปลงนาอีกที  มีข้อดีตรงที่ต้นข้าวมีระยะห่างระหว่างต้นสม่ำเสมอ  จึงมีการถ่ายเทอากาสได้ดี  ไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง  ข้อเสียคือต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก  และต่อมาก็ขาดแรงงานในการปักดำ  ชาวนาก็ใช้วิธีการใหม่โดยการหว่านน้ำตม  เพาะเมล็ดข้าวให้งอก  แล้วหว่านลงในแปลงนาโดยใช้อัตราส่วน  15  กก.ต่อไร่  ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก  ก็ถือว่ายังเป็นวิธีที่ใช้ได้ดี  แต่ทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น  มีการเพิ่มอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มากขึ้น  โดยคิดว่า  มีต้นข้าวในนามากๆ  ก็จะได้รวงมาก  บางรายใช้อัตราส่วน  30-40  กก.ต่อไร่  นี่ คือจุดแรกของปัญหาที่ต้องแก้ไข  ต้นข้าวหนาแน่นเกินไป  ก็ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาก  เป็นที่สะสมของโรคและแมลง  และจุดที่สอง  การทำนาปีละ  1-4  ครั้ง  ทำให้เวลาปลูกไม่พร้อมกัน  ข้าวจึงเป็นห่วงโซ่อาหารให้กับโรคแมลงตลอดทั้งปี
วินิจฉัยโรคผิด  ปัญหาไม่จบ
  • โรคเมาตอซัง  สาเหตุ เกิดจากหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จปลูกข้าวต่อทันที  โดยที่ตอซังยังไม่ย่อยสลาย  ในขณะที่เมล็ดข้าวงอกและลำต้นเจริญเติบโตขึ้นมาอาจไม่สังเกตุเห็นสิ่งผิด ปกติมากนัก  แต่พอหลังจากฉีดยาคุมฆ่าหญ้า  แล้วปล่อยน้ำเข้าแปลงนา  ช่วงนี้จะสังเกตุเห็นอาการของโรคได้ชัดเจน  เนื่องจากตอซังที่ยังสดอยู่  เมื่อมีน้ำท่วมขัง  ตอซังก็จะเริ่มย่อยสลายจากเชื้อจุลลินทรีย์ตามธรรมชาติ  ระหว่างนั้นอุณหภูมิใต้ดินจะสูงขึ้น  ประกอบกับการเกิดก๊าซมีเทนขึ้นมาพร้อมๆกัน  จะทำให้รากข้าวมีสีน้ำตาลเข้ม  ไม่มีสีขาว ที่ชาวนาเรียกว่าโรครากดำ  ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต  ใบไหม้รุนแรงเนื่องจากเชื้อรา  วิ๊แก้ปัญหาของชาวนา  คือหว่านปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)  ยิ่งใส่ปุ๋ยยูเรียข้าวยิ่งตาย  เพราะไม่มีรากสีขาวเพื่อดูดซับปุ๋ย วิธการที่ถูกต้อง  เมื่อ พบอาการต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง อย่างน้อย 7 วัน  ระหว่างที่ปล่อยน้ำ  ควรฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อรา  พร้อมอาหารเฉพาะทางเพื่อเร่งการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  สัง เกตุหน้าดินควรแห้งสนิทแตกระแหงเล็กน้อย  รากข้าวออกใหม่มีสีขาวให้เห็นชัดเจน  ปล่อยน้ำเข้าแปลงได้เลย  หว่านปุ๋ย ยูเรีย  46-0-0  อัตราส่วน  10 กก.ต่อไร่  สารปรับปรุงดิน  2 กก.ต่อไร่  ฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อรา  อารเฉพาะทางเร่งการเจริญเติบโตอีกครั้ง  ขบวนการต้องลงตัว  ชัดเจน
 ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น

Pic Happtree, EMS, Antira, Protector, Glue
  • โรคไหม้  ใบจุดสีน้ำตาล  จะ เห็นอาการชัดเจนระยะข้าวอายุ  45  วันขึ้นไป  อาการไหม้  หรือจุดสีน้ำตาลจะเกิดขึ้นที่ใบแก่  คือใบล่างของต้นข้าว  และจลามขึ้นไปเรื่อยๆ  อย่างรวดเร็ว  ถ้ากำจัดไม่ได้โรคก็จะเกะทำลายเมล็ดข้าว  ที่เรียกว่า  โรคเมล็ดด่าง  ต้องกำจัดให้เด็ขาดก่อนที่ข้าวจะตั้งท้อง  ด้วยวิธีการเดิม  คือปล่อยน้ำให้แห้ง (ต้องน้ำแห้งเท่านั้น)  แล้วฉีดพ่นอีก  1-2  ครั้ง  โดยใช้ผลิตภัณฑ์ชุดเดิม  อาการของโรคหายสนิทแล้วจึงปล่อยน้ำเข้าแปลง  แล้วหว่านปุ๋ยตามปกติ
ปัญหาไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเสมอไป  ขั้นตอนดีไม่มีปัญหา 

No comments:

Post a Comment