Friday, July 22, 2011

HAPPY TREE

Bookmark and Share



Happy Treeแฮ็ปปี้ ทรี สารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ ทรี เป็นสารปรับปรุงดิน ที่ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินมีการถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้มาก ทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ตามความต้องการของพืช ช่วยให้พืชใช้ปุ๋ยได้ถึง 80 % โดยน้ำหนัก ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ย, การทำลายของแมลงศัตรูพืชซิลิก้า (Sio2) 71.75%, การใช้ยาฆ่าแมลง, สารพิษตกค้างน้อยลง และช่วยปรับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก ส่วนประกอบที่สำคัญ - ซิลิก้า แอซิค หรือ ซิลิก้า เป็นธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตสมบูรณ์ของต้นและเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพืชฯลฯ ประโยชน์ที่พืชได้รับ 1. ช่วยให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสมบูรณ์
2. มีความต้านทานต่อโรค ประเภทเชื้อราได้ดี
3. เป็นสารอาหารที่สำคัยต่อต้นอ่อน
4. เป็นส่วนประกอบสำคัญของจมูกข้าว
5. ช่วยเพิ่มน้ำหนักที่แห้งของเมล็ดพืชให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
6. ช่วยให้ปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า

................................................................................................
แฮปปี้ ทรี (สารบำรุงดิน)
รหัสสินค้า: 000004
ราคา 130.00 บาท
เกษตร: สารบำรุงดิน
รายละเอียด: สารปรับปรุงดิน Happy Tree
1. ลดความเป็นพิษในดิน อันมีสาเหตุมาจากสารตกค้างของยาฆ่าแมลง
2. ทำให้พืชแข็งแรง โตเร็ว มีความทนทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืช
3.ผสมกับปุ๋ยได้ทุกสูตรทุกยี่ห้อทำให้ปุ๋ยละลายช้าช่วยยืดระยะเวลาการดูดซึมของพืชทำให้มีผลช่วยประหยัดปุ๋ย
..........................................................................................
รหัสสินค้า -
รายละเอียด เป็นสารปรับปรุงดิน ที่ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินมีการถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้มากทำให้พืชเจริญเติบโตเร็วปลดปล่อยธาตุอาหารให้ได้ตามความต้องการของพืชช่วยให้พืชใช้ปุ๋ยได้ถึง 80 % โดยน้ำหนัก ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ย การทำงายของแมลงศัตรูพืชซิลิก้า (Sio2) 71.75 % การใช้ยาฆ่าแมลง สารพิษตกค้างน้อยลง และช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นธรรมชาติส่วนประกอบที่สำคัญ
ดินเสื่อมพืชไม่กินปุ๋ย
สมาชิกต้องทำความเข้าใจเรื่องดินเป็นกรด และเป็นด่าง (ค่าpH) ให้ชัดเจนก่อนเพราะเป็นหัวใจหลักของเกษตรกร และเป็นหลักวิชาการของการปลูกพืชที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งมีเกษตรกรส่วนน้อยที่ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง พร้อมกับการนำเสนอสารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ทรี ได้อย่างง่ายดายและชัดเจน ไม่ต้องโฆษณาเกินความเป็นจริงก็มีคนอยากใช้ค่าpH คืออะไร ค่าpHเป็นค่าที่ใช้บอกความแรงของกรด หรือด่าง(เบส) อย่างง่ายๆ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับผลิตภัณฑ์ทั่วไปไม่เฉพาะพวกสารเคมี เรื่องดินและน้ำ คนทั่วไปเข้าใจได้ ค่าpHนี้กำหนดโดยความเข้มข้นของโปรตอนในสารละลาย
ยิ่งโปรตอนเข้มข้นมากซึ่งก็คือเป็นกรดมาก pHจะต่ำ ในทางกลับกันถ้าสารละลายเป็นด่าง(เบส) คือความเข้มข้นของโปรตอนต่ำ pHจะสูงในการวัดความเป็น กรด–ด่าง(เบส) ในสารละลายนั้น เราใช้คำว่า “pH” เป็นตัวบ่งชี้ ตัว p ย่อมาจาคำว่า power ซึ่งมีความหมายในเชิงยกกำลัง ส่วน H นั้นหมายถึง ความเข้มของประจุไฮโดรเจน pH มีค่าเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 – 14 สารประกอบที่มีค่า pH 5 มีประจุไฮโดรเจนมากกว่า สารประกอบที่มีค่า pH 6 ถึง 10 เท่า น้ำบริสุทธิ์มีค่า pH เป็นกลางอยู่ที่ pH 7 นั้นหมายถึง น้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีประจุไฮโดรเจน และประจุไฮดรอกไซด์ อยู่จำนวนเท่ากันคือ 1x10–7 โมล pH มีค่าน้อย แสดงว่า สารประกอบนั้นมีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำมะนาวมี pH=2.3 pH มีค่ามาก แสดงว่า สารประกอบนั้นมีความเป็นด่าง(เบส)สูง เช่น น้ำยาทำความสะอาดพื้นมี pH = 13 สิ่งมีชีวิตในน้ำส่วนมากมักอาศัยอยู่ในน้ำที่มีค่า pH 6.5 – 9 โดยปกติน้ำฝนตามธรรมชาติจะมีความเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากการละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แต่ทว่าในเขตอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเสียออกมา จะทำให้เกิดสภาวะฝนกรด น้ำฝนที่สะสมอยู่ในแหล่งน้ำทำให้ค่า pH ต่ำลง เมื่อ pH ต่ำกว่า 5.5 ปลาจะตายหมดเมื่อ pH มีค่าต่ำกว่า 4 จะไม่มีสิ่งมีชีวิตใดทนทานได้เลยการศึกษาความเป็นกรด – ด่าง(เบส) ของน้ำจึงมีความสำคัญมากต่อการประมงและการเกษตรความเป็นกรดเป็นด่างของดิน มีความสำคัญอย่างไรช่วงของ pH ของดินโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ระหว่างประมาณ 3.0 - 9.0 ค่า pH 7.0 บอกถึงสภาพความเป็นกลางของดิน กล่าวคือ ดินมีตัวที่ทำให้เป็นกรดและตัวที่ทำให้เป็นด่างอยู่ในปริมาณเท่ากันพอดี ค่าที่ต่ำกว่า 7.0 เช่น 6.0 บอกสภาพความเป็นกรดของดิน ในกรณีนี้เมื่อดินมี pH 6.0 เราก็จะทราบว่าดินเป็นกรดอย่างอ่อน มีสภาพเป็นกรดมากกว่าดินที่มี pH 7.0 (เป็นกลาง) สิบเท่า ค่า pH ของดินยิ่งลดลงเท่าใด สภาพความเป็นกรด ก็รุนแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น ดินที่มี
pH 5.0 จะเป็นกรดมากกว่า pH 6.0 สิบเท่า แต่ละค่าของ pH ที่ต่างกันหนึ่งหน่วยจะบอกความเป็นกรดที่แตกต่างกันสิบเท่า เช่นเดียวกับดินที่มี pH สูงกว่า 7.0 เท่าใด ความเป็นด่างก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และจะเป็นด่างมาก ขึ้นเป็นสิบเท่าต่อความแตกต่างกันหนึ่งหน่วยของค่า pH ระดับความรุนแรง ของความเป็นกรด-ด่าง ของดิน สามารถบอกได้จากค่าของ pH ดังนี้ค่าของ pH ของดิน สามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรด ในภาคสนาม สามารถใช้ชุดตรวจสอบชนิดใช้น้ำยาเปลี่ยนสีตรวจสอบ เรียกว่า wbr pH Test Kit หรือชุดตรวจสอบ pHความเป็นกรดของดินจะมีสภาพเหมือนกับกรดอย่างอ่อน เช่น กรดน้ำส้มสายชู ตัวที่แสดงความเป็นกรดคือ ไฮโดรเจนไอออน (H+) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเคมีของดิน กล่าวคือ ทำให้มีการละลายตัวของธาตุหรือสารต่างๆ ในดินออกมา บ้างก็เป็นประโยชน์ บ้างก็อาจเป็นพิษต่อพืช เช่น ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงจะทำให้มีธาตุ พวกอะลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมาอยู่ในน้ำในดินมากเกินไป จนเกิดเป็นพิษขึ้นแก่พืชที่ปลูกได้ แมงกานีสและเหล็กแม้จะเป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญ แต่พืชต้องการในปริมาณน้อย ถ้ามีสะสมอยู่ในดินมากจนเกินไปก็จะเกิดเป็นพิษขึ้นกับพืชได้ ดินที่มีค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4.5 ลงไปเรามักพบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่างๆ ในดินที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้ได้ง่ายและมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพหรือระดับ pH ของดินเป็นอย่างมาก ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินจะคงสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีปริมาณมากที่ pH ช่วงหนึ่ง ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วงนั้นๆ ก็เปลี่ยนสภาพเป็นรูปที่ยากที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ เช่นธาตุ ฟอสฟอรัส จะอยู่ในรูปของสารละลายที่พืชดึงดูดไปใช้ได้ง่าย เมื่อดินมี pH อยู่ระหว่าง 6.0-7.0 ถ้าดินมี pH สูง หรือต่ำกว่าช่วงนี้ ความเป็นประโยชน์ของ ธาตุฟอสฟอรัส ในดินก็ลดน้อยลง เพราะไปทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้ง่ายขึ้น และแปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ปุ๋ยฟอสฟอรัส ที่เราใส่ลงไปในดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้มากที่สุดก็เมื่อดินมี pH อยู่ในช่วงดังกล่าว ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ลงไปในดินจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งหมด แต่จะสูญเสียไปโดยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดิน แปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากเสียกว่า 80% ซึ่งเราเรียกว่าฟอสฟอรัสถูกตรึง ปุ๋ยฟอสฟอรัส จะถูกตรึงได้ง่ายและมากขึ้นไปกว่านี้ได้อีก ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วง pH 6.0-7.0 และที่สำคัญจะทำให้ธาตุ โพแทสเซี่ยม ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ในกรณีที่ฟอสฟอรัสถูกตรึง

อินทรียวัตถุในดินมีความสำคัญมาก เนื่องจากช่วยทำให้ดิน โปร่งและร่วนซุย เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของรากพืช นอกจากนั้นยัง สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารพืชที่สำคัญ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และธาตุอื่นๆ ให้แก่พืช การไถพรวนดินเพื่อการเพาะปลูกใน พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และไม่มีวิธีการอนุรักษ์ดินที่ถูกต้อง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการชะล้างพัง ลายสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อหน้าดินที่มีธาตุอาหารและอินทรียวัตถุอันอุดมสมบูรณ์หายไป หน้าดินที่เหลืออยู่คือดินชั้นล่างจะเป็นดินเลว เนื่องจากมีธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุน้อย เป็นกรดจัด ไม่สามารถปลูกพืชให้งอกงาม อีกต่อไป

พืชที่ปลูกในดินเลวจะขาดแคลน ธาตุอาหาร พืชจะเหลืองและ ให้ผลผลิตต่ำ ส่วนดินที่มีธาตุอาหารเพียงพอ พืชจะเขียวเจริญงอกงาม ให้ผลผลิตสูง ส่วนที่เป็นผลิตผลของพืชที่ปลูกและ เก็บเกี่ยวขาย จะเป็นตัว การสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินส่วนของพืชที่สัตว์ กินและถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยคอกกลับคืนสู่ดิน จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็น ประโยชน์แก่พืชอีกครั้งหนึ่ง ธาตุอาหารในดินที่ติดไปกับผลิตผลจะสูญเสียไป อย่างถาวร แต่เราสามารถใช้ปุ๋ยชดเชยหรือเพิ่มเติมให้กับดินจนพอเพียงแก่ ความต้องการของพืชได้

และในความเป็นจริงปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้เลี้ยงสัตว์หรือมีส่วนน้อย จึงไม่มีมูลสัตว์เพียงพอในการปรับปรุงดิน
พื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันจึงค่อยๆเสื่อมลงไปเลื่อยๆโดยที่ตัวเกษตรกรเองไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
ค่า pH ของดินที่เหมาะกับพืชบางชนิด

1 ข้าว 5.5-6.0

2 ผักกาดหัว กะหล่ำดอก ขึ้นฉ่าย ถั่วลันเตา ผักกาดหอม 6.0-7.0

3 กะหล่ำปลี แครอท คะน้า 5.7-7.0

4 ยาสูบ 5.4-5.7

5 มันเทศ 5.5-7.0

6 ฝ้าย 6.0-8.0

7 สับปะรด 5.0-6.0

ธาตุอาหารพืชพวกจุลธาตุ (micronutrients)
เช่น สังกะสี เหล็ก แมงกานีส โบรอน เป็นต้น จะละลายออกมาอยู่ในสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีอยู่ในดินอย่างพอเพียงกับความต้องการของพืช เมื่อดินมี pH เป็นกรดอย่างอ่อนถึงกรดปานกลางมากกว่าเมื่อดินมี pH เป็นกลางหรือเป็นด่าง แต่ในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารโมลิบดินัม จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ดีขึ้น ถ้าดินมี pH เป็นกลางถึงด่างอย่างอ่อน อย่างไรก็ตามเมื่อสรุปความเสียเปรียบและได้เปรียบระหว่างความเป็นกรดและเป็นด่างของดินแล้ว ดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชควรจะมีpHอยู่ในช่วงเป็นกรดอย่างอ่อนถึงเป็นกรดปานกลาง(6.0-7.0)

ความสำคัญของ pH ของดินยังเกี่ยวข้องอยู่กับการทำงานที่เป็นประโยชน์ของจุลินทรีย์ต่างๆ ในดินด้วย ปกติสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ในดินจะเน่าเปื่อยผุพังได้ก็โดยที่มีจุลินทรีย์ต่างๆ เข้าย่อยทำลาย ขณะที่สารอินทรีย์พวกนี้กำลังสลายตัวก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมาซึ่งรากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้ พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วทำให้พืชงอกงามดีขึ้นนั้นก็เนื่องจากจุลินทรีย์พวกนี้เข้าย่อยและทำให้ปุ๋ยคอกสลายตัว และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกทีหนึ่ง การที่ปุ๋ยคอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ช้ากว่าปุ๋ยเคมี ก็เนื่องด้วยเหตุที่ปุ๋ยคอกต้องรอให้จุลินทรีย์เข้าย่อยให้สลายตัวเสียก่อน ซึ่งผิดกับปุ๋ยเคมีเมื่อละลายน้ำแล้วพืชก็สามารถดึงดูดเอาธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้ได้ทันที จุลินทรีย์ต่างๆ ที่เข้าย่อยสลายปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ต่างๆ
ตลอดจนฮิวมัสในดินนั้นจะทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ เมื่อ pH ของดินอยู่ระหว่าง pH 6-7 ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงถึงกรดรุนแรงมาก จุลินทรีย์ในดินจะทำงานได้ช้าลง ปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ในดินจะสลายตัวและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ช้ามาก

เมื่อดินเป็นกรดรุนแรงและกรดรุนแรงมากนั้น มักจะพบว่าพืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโต และงอกงามเท่าที่ควร เราสามารถแก้ไขดินที่เป็นกรดมากจนเกินไปนี้ (pH ต่ำกว่า 5.0) ให้มีระดับ pH สูงขึ้น (6.0-7.0) ได้โดยการใส่สารประกอบพวกปูนขาว (Ca(OH2)) หินปูนที่บดละเอียดเป็นฝุ่น (CaCO3) และปูนมาร์ล (marl) ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกันกับหินปูน สารประกอบพวกนี้เมื่อใส่ลงไปในดินจะมีฤทธิ์เป็นด่างและจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับกรด ทำให้สารพวกกรดในดินลดน้อยลง และมีสารพวกด่างสูงขึ้น

หมายเหตุ ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายหน่วยงานควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนนำไปอ้างอิง
สารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ทรี
แร่ เพอร์ไลท์ & ซีโอไลท์
อีกหนึ่งทางเลือกในการปรับปรุงดิน

คุณสมบัติธาตุประกอบ

Silica – Silicon Dioxide ( SiO2 ) 71.67% (ซีลีก้า-ซีลีคอน )

Aluminum Oxide ( Al2O3 ) 13.45% (อะลูมินัม )

Iron(III) oxide ( Fe2O3) 1.43% (เหล็ก )

Potassium oxide (K2O) 4.31% (โพแทสเซียม)

หมายเหตุ ธาตุประกอบในสารบำรุงดินแฮ็ปปี้ทรี อาจเปลี่ยนแปลงไปจากแร่เพอร์ไลท์ดิบ เนื่องจากขบวนการผลิต และส่วนผสมอื่นๆ อันเป็นสูตรเฉพาะของบริษัท ฉะนั้นธาตุประกอบในแร่เพอร์ไลท์ดิบ จึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงกับสารบำรุงดินแฮ็ปปี้ทรีได้

เพอร์ไลต์(Perlite) หินภูเขาไฟ (Volcanic rock) ชนิดหนึ่ง เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ มีเนื้อละเอียดหรือเป็นแบบแก้ว มีส่วนประกอบทางเคมีอะลูมิน่าซิลิเกตกลาส

เพอร์ไลต์มีธาตุซิลิก้า(SiO2) มีคุณสมบัติเด่นในการดูดซับความชื้นได้ดี ทำให้สภาพข้างเคียงโดยรอบชุ่มชื้นสะสมอยู่ในรากพืชมากช่วยทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อความแห้งแล้งมีอยู่ในโครงสร้างของผนังเซลล์ ช่วยลดการสูญเสียน้ำ
และทนทานต่อการติดโรคช่วยเพิ่มความเจริญเติบโต ลดความเป็นพิษของธาตุแมงกานีส เหล็ก อะลูมิเนี่ยม ที่มีอยู่ในสารละลาย

ดินมากเกินไป ช่วยเพิ่มความหวานให้อ้อยและมีลำต้นแข็งแรงลดอัตราการระเหยของน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีใบตั้งตรงรับแสงได้ดี รากสามารถรับอ๊อกซิเจนได้เพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนดีขึ้น ช่วยดูดซับธาตุไนโตรเจน

เพอร์ไลต์มีธาตุอะลูมิเนียม(Al) และมีธาตุโซเดียม (Na) ธาตุจำพวกโซเดียมอะลูมิเนียมซิลิเกต มีคุณสมบัติในการปรับสภาพความเป็น กรด และยังสามารถดูดซึมก๊าซหรือสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ได้ดี

เพอร์ไลต์มีธาตุเหล็ก(Fe) ช่วยในขบวนการหายใจ และช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์ในการปรุงอาหารของพืช และเป็นอาหารเสริมซึ่งพืชต้องการปริมาณน้อย

เพอร์ไลต์มีธาตุโพแทสเซียม(K) ทำให้เปลือกลำต้นแข็งแรง ไม่หักโค่นหรือล้มง่าย ช่วยกระบวนการสร้างน้ำตาลและแป้งที่สะสมในพืช ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้ง และน้ำตาลไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช ช่วยในการแบ่งเซลล์ ช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคดีขึ้น ผลที่ตามมาคือออกดอกติดผลดี แต่หากมีการเร่งดอกเร่งผลมากก็จะทำให้ต้นไม้นั้นทรุดโทรมและตายเร็ว

เพอร์ไลต์มีน้ำ(H2O) เป็นตัวประสานธาตุต่างๆ ให้อิ่มตัว ทำละลายแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ทั้งยังให้ความชุ่มชื้นแก่พืชและบริเวณใกล้เคียง

สภาพทางกายภาพ มีความโปร่งรูพรุนเป็นธรรมชาติ และเมื่อได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นก็จะขยายตัว 5 - 20 เท่า ทำให้มีความโปร่งและเป็นโพรง เมื่อเข้าไปผสมอยู่ในดินก็จะทำให้ดินมีสภาพโปร่ง สามารถดูดซับกลิ่นโดยเฉพาะแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งจะเป็นปุ๋ยที่ดีของพืช ความแข็งแรงทำให้สามารถพยุงเนื้อดินในการกดทับได้ดี เนื่องจากมีเม็ดผลึกที่สม่ำเสมอขนาดเท่าๆ กัน ประมาณ 1 – 2 มม. ทำให้ความโปรงและร่วนซุยของดินดีและสม่ำเสมอ เสมือนตัวกรองสารต่างๆ ทางธรรมชาติ

มีสภาพเป็นฉนวนกันความร้อนทางธรรมชาติเป็นการผ่อนคลายความร้อนที่สะสมตลอดวันให้แก่ต้นพืชและรากพืชที่อยู่ใต้ดิน สามารถใช้เป็นอินทรียวัตถุได้เนื่องจากมีกลุ่มจุลาตุ ประโยชน์

- สารกรอง

- ผสมสีทาบ้าน

- ทำผงขัด

- ดูดซับน้ำเสีย บำบัดน้ำเสีย

- เป็นวัสดุทนไฟผสมกับพอร์ตแลนด์ซีเมนต์

- เป็นฉนวนป้องกันความร้อน

- ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ทำให้ปูนแห้งเร็ว

- ปรับสภาพความเป็นกรดในน้ำ

- ปรับสภาพของดินทางด้านการเกษตร

- ใช้ขจัดกลิ่นเหม็นของก๊าซแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์

- เป็นวัสดุสภาพเบามีความแข็งแรงสูง ใช้เป็นวัสดุทดแทนวัสดุก่อสร้างที่มีน้ำหนักและ แข็งแรงน้อยกว่า เช่น อิฐก่อสร้าง
ส่วนผสมซีเมนต์และคอนกรีต

หมายเหตุ คุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติของแร่เพอร์ไลท์ดิบ ที่ยังไม่ได้ผ่านขบวนการผลิตเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรโดยตรง จึงมิอาจนำมาอ้างอิงกับสารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ทรี ได้

ติดตามผลหลังใช้ แฮ็ปปี้ทรี

ตรวจสอบระบบดิน ระบบรากพืช หลังใช้ได้ 7-10 วัน ดินนุ่มร่วนซุย ระบบรากยาวขาวอวบ ต้นแข็งใบตั้ง มีความเขียวงามทนนาน หากนำมาคลุกเคล้ากับปุ๋ย ไนโครเจน สามรถดูดซับธาตุไนโตรเจน ไม่ให้ระเหยไปกับอากาศและน้ำได้ 100% ทำให้พืชใช้ประโยชน์จากธาตุไนโตรเจนที่ใส่ลงไปได้ทั้งหมด

ทราบหรือไม่ว่าดินมีหน้าที่อะไร และมีความสำคัญอย่างไร

หน้าที่และความสำคัญของดินที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชและการเกษตรกรรม กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

1. ดินทำหน้าที่เป็นที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำต้นของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคง แข็งแรง ขณะที่พืชเจริญเติบโต รากของพืชจะเติบโตชอบไชหยั่งลึกแพร่กระจายลงไปในดินอย่างกว้างขวางทั้งแนวลึกและแนวราบ ดินที่ร่วนซุยและมีชั้นดินลึก รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง สามารถเกาะยึดดิน ต้านทานต่อลมพายุไม่ทำให้ต้นพืชล้มหรือถอนโคนได้

2. ดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งนี้เนื่องจากธาตุอาหาร พืชจะถูกปลดปล่อยออกจากอินทรียวัตถุ และแร่ต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดิน ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย

3. ดินเป็นแหล่งที่เก็บกักน้ำหรือความชื้นในดิน ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดได้ง่าย เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงลำต้นและสร้างการเจริญเติบโต น้ำในดินจะต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมเท่านั้น ที่รากพืชสามารถดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ การรดน้ำพืชจนขังแฉะรากพืชไม่สามารถดึงดูดน้ำขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้ จะทำให้พืชเหี่ยวเฉาและตายในที่สุด

4. ดินเป็นแหล่งที่ให้อากาศในดิน ที่รากพืชใช้เพื่อการหายใจรากพืชประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต ต้องการออกซิเจนสำหรับการหายใจทำให้เกิดพลังงานเพื่อการดึงดูดน้ำ ธาตุอาหารและการเจริญเติบโต ดินที่มีการถ่ายเทอากาศดี รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง ดูดน้ำและ ธาตุอาหารได้มาก ทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลิตผลสูง

ความสำคัญของเนื้อดินที่มีต่อความเหมาะสมในการเพาะปลูก

1. ด้านการเตรียมดิน กลุ่มดินเหนียวและกลุ่มดินค่อนข้างเหนียวจะไถพรวนลำบาก กล่าวคือ เมื่อเปียกจะเหนียวจัด ถ้าแห้งก็จะแข็งจัดการเตรียมดินเพื่อการปลูกพืชทำได้ลำบากกว่ากลุ่มดินร่วนและกลุ่มดินทราย ซึ่งจะไถพรวนง่ายกว่า

2. ด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน กลุ่มดินเหนียวและค่อนข้างเหนียวจะมีความสามารถอุ้มปุ๋ย หรือธาตุอาหารพืชและน้ำไว้ในดินได้มากกว่ากลุ่มดินร่วนและดินทราย ดังนั้นถ้าเราสามารถทำให้ดินเหนียวและดินค่อนข้างเหนียวมีสภาพไม่แน่นทึบ ดินมีความโปร่งพอสมควร ดินพวกนี้จะปลูกพืชได้งามดี ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก ตรงข้ามกับกลุ่มดินร่วนและดินทรายซึ่งจะอุ้มน้ำและปุ๋ยได้น้อย ถ้าดินไม่ได้รับปุ๋ย หรืออินทรียวัตถุในดินมีอยู่น้อย พืชที่ปลูกมักจะไม่ค่อยงาม ต้องรดน้ำบ่อยใส่ปุ๋ยบ่อยๆ พืชจึงจะงอกงามดี

3. ความโปร่งและร่วยซุย ดินในกลุ่มดินเหนียวมักจะแน่นทึบต้องพรวนบ่อยๆ หรือต้องจัดการเรื่องการระบายน้ำให้ดี เพราะจะขังน้ำได้ง่าย ทำให้รากพืชเน่าและไม่สามารถดูดน้ำและปุ๋ยได้อย่างปกติ จึงต้องหาวิธีทำให้ดินพวกนี้โปร่ง เช่น
ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักผสมดินตอนเตรียมดินให้มากๆ ส่วนดินร่วนและดินทรายจะมีคุณสมบัติโปร่ง การระบายน้ำดี อากาศถ่ายเทดี เหมาะกับการเจริญเติบโตและการดึงดูดปุ๋ยและน้ำในดินของราก แต่บางครั้งดินที่มีทรายปนอยู่มากจะโปร่งจนเกินไป พืชขาดน้ำง่ายเพราะดินแห้งเร็ว ต้องรดน้ำบ่อยๆ ทำให้การดูแลลำบาก เราสามารถเพิ่มความอุ้มน้ำของดินร่วนและดินทรายได้ โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออินทรียวัตถุต่างๆ ผสมกับดินให้มากๆ ควรแปรสภาพดินเหนีสารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ทรี

อัตราและวิธีใช้ แฮ็ปปี้ ทรี ให้ได้ประสิทธิภาพ

1.นำแฮ็ปปี้ ทรี ในอัตราส่วน 2 – 4 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน 50 กิโลกรัม

2.นำไปใช้ได้ทันที ในปริมาณที่ต้องการ
ประโยชน์ที่ได้รับจาก แฮ็ปปี้ ทรี สารปรับปรุงดิน

1.ช่วยให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสมบูรณ์

2.มีความต้านทานต่อโรค ประเภทเชื้อราได้ดี

3.เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อต้นอ่อน

4.เป็นส่วนประกอบสำคัญของขมูกข้าว

5.ช่วยเพิ่มน้ำหนักที่แห้งของเมล็ดพืชให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

6.ช่วยให้ปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า

No comments:

Post a Comment