Monday, July 25, 2011

ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ข้าว

ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ข้าว

ปลูกข้าวผลผลิต130ถังต่อไร่

ปลูกข้าวผลผลิต130ถังต่อไร่





ปัญหาชาวนาไทยกับปัจจุบัน

ต้นทุนสูง ผลผลิตต่ำ ราคาถูก

ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องปกติของชาวนาไทยในยุคปัจจุบันไปเสียแล้ว ก็ปุ๋ยมันแพง ก็ดินมันเสีย ก็เพลี้ยระบาด จิปาถะที่เราเคยได้ยินเสียงบ่นจากชาวนาไทย หลายคนปลงได้เท่าไร เอาเท่านั้น หลายคนถอดใจ เลิกทำนา หลายคนหลังพิงฝา หันหน้าสู้ หวังว่าวันหนึ่ง ต้องมีคนมาช่วย และยังหวังจนถึงทุกวันนี้

คนช่วยประสบความสำเร็จ หรือชาวนาประสบความสำเร็จ ลอง นึกย้อนถอยหลัง 10 ปี ที่ผ่านมา ปี พ.ศ.2543 เรื่อยมา ผลผลิตข้าวลดน้อยถอยลงอย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ ปุ่ยเคมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ โรคและแมลงศัตรู เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ชาวนาเป็นหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนลงเรื่อยๆ หลายหน่วยงานทนเสียงร่ำร้องของชาวนาไทยไม่ไหว ได้ออกมานำเสนอ การทำนารูปแบบใหม่ๆ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีกับนาข้าว เรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อทดแทนปุ๋ยเคมี ผลิตน้ำหมักชีวภาพ ทดแทนยาฆ่าแมลง ผลิตเชื้อจุลลินทรีย์หลายร้อยสายพันธุ์ เพื่อปรับปรุงดิน เป็นฮอร์โมนพืช หรือกำจัดโรคแมลง โดยให้ชาวนาไทย เป็นคนทดลองผลิตภันฑ์ต่างๆ เชื่อว่าสำเร็จได้ทั้งคู่ ถ้าไม่หลอกกัน

ปุ๋ยปลอม ส่วนมากจะเป็นปุ๋ย อินทรีย์เคมี ที่ใช้แล้วไม่ได้ผล จากคำกล่าวที่ว่า ใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ได้ประโยชน์สูงสุด ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์วัตถุส่วนมากจะได้จากมูลสัตว์ ใช้เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้สมบูรณ์ ร่วนซุย มีอาหารรองและอาหารเสริมพืชบางชนิดให้พืชได้ใช้ ระบบรากชอนไชหาอาหารเก่ง ปุ๋ยเคมี หมายถึงธาตุอาหารหลักที่ใช้มากในพืชเกือบทุกชนิด ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี ใช้ในสัดส่วนที่เหมาะสม ปุ๋ยอินทรีย์เคมีไม่ใช่ดินธรรมดาปั้นรวมกับปุ๋ยแอมโมเนีย ซันเฟต จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อย่างถูุกวิธี
  • ปรับโครงสร้างดินใหม่ ใช้สารอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยสำนึกอยู่อย่างสม่ำเสมอว่า สารอินทรีย์ สำคัญกว่า สารเคมี เนื่องจากข้าวจะได้ผลผลิตมาก ต้นข้าวต้องสมบูรณ์ แข็งแรง ทำได้อย่างเดียวคือ อินทรีย์วัตถุ ไม่ใช่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ที่ทำให้ต้นข้าวงามมากเกินไป ต้นอ่อน อวบน้ำ ต้นอ่อนแอ
ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างถูกต้อง ข้าวไม่ไวต่อแสง หมายถึงข้าวที่ออกตามอายุ จำเป็นต้องเร่งการเจริญเติบโตพร้อมกับความสมบูรณ์ของต้นให้ทันกับช่วงระยะออกรวง ยังถือว่าปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ยังจำเป็นต้องใส่ในในการใส่ปุ๋ยครั้งแรก โดยใช้อัตราส่วน 10 กิโลกรรม ต่อไร่ (อายุข้าวที่จะใส่ไม่ควรเกิน 17-20 วัน) ให้ถือว่าเป็นอัตราส่วนที่พอดีสำหรับข้าวไม่ไวต่อแสง ชาวนาส่วนใหญ่จะใส่ 25 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ถือว่ามากเกินความจำเป็น และจะทำให้ต้นข้าวอ่อนแอไม่แข็งแรง เสริมด้วยอินทรีย์วัตถุทำให้ต้นข้าวสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น สารกระตุ้นการแตกกอ และเร่งการเจริญเติบโต
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องฉีดพ่นทางใบทันที ตามปกติ ชาวนาส่วนใหญ่หว่านปุ๋ยแล้ว ก็แล้วกัน มองดูการเจริญเติบโตของต้นข้าวไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่ได้ทำอะไร แต่หากมีหนอนหรือเพลี้ยลงทำลาย ก็จะใช้สารเคมีฉีดพ่นกำจัด แต่การทำนายุคนี้เรียกได้ว่า ทำนาซ้ำซ้อน และที่สำคัญทำไม่พร้อมกัน จึงเป็นเหตุให้โรคแมลงมีที่อยู่อาศัย และขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี สังเกตุดีๆ หว่านปุ๋ยเมื่อไหร่ ก็จะเกิดโรค และแมลงตามมาทันที ควรป้องกันดีกว่ารอให้เกิด

ช่วยไม่ได้อาจตกม้าตายด้วยความสวย ต้องยอมรับว่าการใส่ปุ๋ยพร้อมทั้งฉีดพ่นเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น จะเห็นว่าต้นข้ามงามสมบูรณ์มาก แตกกอดี สีเขียวสดใส ในช่วงอายุ 30-35 วัน ชาวนาส่วนใหญ่จะนิ่งนอนใจไม่ยอมทำอะไร เพราะเห็นว่าต้นข้าวสวยงามดีแล้ว หารู้ไม่ว่าช่วงข้าวอายุ 35-40 วัน โรคใบจุดสีน้ำตาล หรือโรคไหม้ เริ่มระบาดให้เห็นที่ใบล่าวสุดของต้น เนื่องจากเชื้อราจะออกฤทธิ์ทำลายเฉพาะใบข้าวที่แก่เท่านั้น ถ้ายังนิ่งนอนใจไม่ยอมกำจัด ใบข้าวก็จะแก่ขึ้นไปเรื่อยๆ เชื้อราก็จะลุกลามขึ้นไปเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะกำจัดได้ในตอนที่ข้าวออกรวง แต่อย่าลืมว่าใบข้าวข้างล่างเสียหายไปแล้ว ใบเป็นแหล่งสะสมอาหาร ใบเสีย อาหารเสีย ได้ 80 ถังต่อไร่ก็ดีแล้ว ก่อนหว่านปุ๋ยครั้งที่ 2 ฉีดพ่นอีกสักครั้ง
ใส่ครั้งที่ 2 ปุ๋ยสูตรไหนถึงจะดีที่สุด อย่าสับสนกับสูตรปุ๋ย 46-0-0 เร่งการเจริญเติบโตทางต้น และใบ ถ้าใส่ช่วงนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเล่นงานแน่นอน หรือไม่ก็หนอนกอ หนอนห่อใบข้าว 16-20-0 ใชได้กับนาดินเหนียว 16-16-8 นาดินปนทราย 15-15-15 นาดินปนทราย เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม หรือจะเป็นสูตร 15-15-15 ทั้งนาดินเหนียว และดินปนทราย อัตรส่วน 25 กก.ต่อไร่ ตามสูตรสำเร็จอย่าลืมปรับปรุงดินด้วยสารปรับปรุงดิน แฮ็ปปี้ทรี เร่งความอวบใหญ่ของ ลำต้น ต้นและใบต้องมี สีเขียวเข้ม ต้นแข็งใบตั้ง ไม่มีการทำลายของเชื้อรา และแมลงต่างๆ

คู่เด่น ต้นแข็ง ใบตั้ง
ครบเครื่องเรื่องผลผลิต ปุ๋ยทางดินอย่างเดียวไม่สามารถเพิ่มได้ 130 ถังต่อไร่อย่างแน่นอน ต้องคำนึงถึงการฉีดพ่นเป็นหลักด้วย นอกจากอาหารหลักแล้ว อาหารรอง อาหารเสริม ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญของการเพิามผลผลิต การให้อาหารรอง อาหารเสริมที่ดีที่สุด ต้องฉีดพ่นทางใบ และควรฉีดอย่างน้อย 2-3 ครั้ง

หลังจากหว่านปุ๋ยครั้งที่2 5-7 วัน
ช่วงข้าวชักใบธง (กัดหางปลาทู)
ช่วงข้าวสลัดเกษร (คอรวงก้ม)

นาข้าวเหนียวสันป่าตอง

นาข้าวเหนียวสันป่าตอง

วิกฤติฤดูหนาวข้าวไม่กินปุ๋ย1

วิกฤติฤดูหนาวข้าวไม่กินปุ๋ย1




  • ข้าวชงักการเจริญเติบโตมีหลายสาเหตุ   เช่น
1.เกิดจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกระทันหัน  เช่น  ร้อน  กระทบ  หนาว
2.เกิดจากน้ำท่วมเป็นเวลาหลายวัน  หลังจากน้ำลด  ข้าวมีอาการเหลืองซีด  ทรุดโทรม
3.เกิดจากโรค  "เมาตอซัง"  สาเหตุจากการทำนาซ้ำซ้อน  ไม่มีโอกาสได้พักหน้าดิน
4.เกิดจากการถูกทำลายของ  แมลงศัตรูพืช  และเชื้อราต่างๆ  ทั้งทางดิน  และทางใบ
  • การแก้ปัญหาเบื้องต้น
1.ปล่อยน้ำออกจากแปลงนา "ให้แห้ง" ทันที
2.ฉีดพ่นทางใบทันที  ดังนี้
แฮ็ปปี้ กลู 5 ซีซี.     แฮ็ปปี้  อีเอ็มเอส 20-30 ซีซี.
แฮ็ปปี้ โพรเทคเตอร์  30-50 ซีซี. แฮ็ปปี้ แอนติรา  30-50 ซีซี
  • หลังจากฉีดพ่นประมาณ  5-7 วัน 
ให้ สังเกตุว่าหน้าดินแห้งหรือยัง  ควรปล่อยให้ดินแห้ง  จนถึงขั้นแตกระแหงเล็กน้อย  แต่ไม่ควรเกิน  7 วันหลังจากฉีดพ่น  เพื่อให้รากข้าวได้รับ  "อ๊อกซิเจน"  ในอากาศ  และแตกรากใหม่ออกมาเป็นสีขาว  มองด้วยตาเปล่าก็จะเห็นได้ชัดเจน  ใบใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีสีเขียวเข้ม  ไม่มีโรค  และแมลง  ทำลาย
  • ปล่อยน้ำเข้าแปลงนาเล็กน้อย  ประมาณ 2-5 เซ็นติเมตร
  • หว่านปุ๋นยูเรีย (46-0-0) อัตราส่วน 1 กระสอบ (50กก.)  ผสมสารบำรุงดิน  แฮ็ปปี้ ทรี  5 ถุง  แฮ็ปปี้ อีเอ็มเอส  200-500  ซีซี. หว่านในพื้นที่  5 ไร่
  •  ฉีดพ่นทันทีโดยใช้ผลิตภัณฑ์เหมือนเดิม  ตามตัวอย่าง  อีก  1 ครั้ง 
  •  และช่วงนี้ให้หว่านปุ๋ยครั้งที่ 2 โดยให้นับอายุข้าว  ไม่ควรเกิน  60-65  วัน  

วิกฤติฤดูหนาวข้าวไม่กินปุ๋ย2

วิกฤติฤดูหนาวข้าวไม่กินปุ๋ย2




หว่านปุ๋ยรอบนี้เรียกว่ารับท้อง  ปล่อยน้ำเข้าแปลงนาในปริมาณที่พอดี  ไม่มากเกินไป  และไม่น้อยเกินไป
สูตรปุ๋ยแนะนำ 16-20-0,  16-16-8,  15-15-15,  13-13-21  สูตรใดสูตรหนึ่ง  ยกเว้นนาดินปนทราย  ไม่ควรใช้  16-20-0
วิธีการผสมปุ๋ยในพื้นที่  10 ไร่  เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด  13-13-21  จำนวน  5 กระสอบ  แฮ็ปปี้ทรี  10 ถุง  แฮ็ปปี้ อีเอ็มเอส  200-500 ซีซี.  หว่านให้หมดในพื้นที่  10 ไร่
ฉีดพ่นในขณะที่ข้าวเริ่มออกรวง  (ชักใบธง)  อัตราส่วนต่อน้ำ  20 ลิตร
Pic Happy Clur Pic Planty
แฮ็ปปี้ กลู 3-5 ซีซี.  แฮ็ปปี้เพลนตี้ 20-30 ซีซี.
Pic Protector Pic Crow
แฮ็ปปี้โพรเทคเตอร์  30-50 ซีซี.  แฮ็ปปี้โกร์ว 5-10 ซีซี.
Pic Antira
แฮ็ปปี้แอนติรา 20-30 ซีซี.
ข้าวออกรวงสม่ำเสมอ  หลังจากที่รวงข้าว  สลัดเกษร (รวงเริ่มก้ม)  ให้ฉีดพ่นอีกครั้ง  ตามสูตรเดิมทุกอย่าง  เพื่อเพื่มน้ำหนักให้กับเมล็ดข้าว  และลดความชื้นให้กับเมล็ดข้าว
ข้อควรระวัง  ระหว่างทางให้ตรวจสอบการระบาดของ  โรคเชื้อรา   และแมลงศัตรูข้าว  ทุกระยะ  ควรติดต่อกลับทาง เวบบอร์ด  โดยด่วน  เพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง  และทันต่อเหตุการ
                                           ลดต้นทุนได้  เพิ่มผลผลิตได้  ก็รวยได้

For all Farmers

Bookmark and Share

For all Farmers

แฮ็บปี้เอ็มพีเอ็มพืชผักทุกชนิด
HappyMPM for general crop

กระจับ, กระท้อนขันทอง, กระท้อนทับทิม, กระท้อนปุยฝ้าย, กระท้อนอิล่า, กล้วย, กล้วยไข่กำแพงเพชร, กล้วยน้ำว้า, กล้วยน้ำว้านวล, กล้วยเล็บมือนาง, กล้วยหอม, กล้วยหอมทอง, กล้วยหักมุก, กีวี, แก้วมังกร, แก้วมังกรไทย, แก้วมังกรเวียดนาม, ขนุน, ขนุนจำปากรอบ, ขนุนทองประเสริฐ, ขนุนทองสุดใจ, ขนุนมาเลย์, ขนุนเหรียญบาท, แคนตาลูป, เงาะ, เงาะสีชมพู, ชมพู่, ชมพู่ทับทิมจันทร์, ชมพู่ทูลเกล้า, ชมพู่มะเหมี่ยว, เชอร์รี, แตงโม, แตงไทย, ทุเรียน, ทุเรียนกระดุม, ทุเรียนก้านยาว, ทุเรียนชะนี, ทุเรียนหมอนทอง, น้อยหน่า, น้อยหน่าเนื้อ, น้อยหน่าหนัง, แบล็กเบอร์รี, ฝรั่ง, ฝรั่งกลมสาลี่, ฝรั่งแป้งสีทอง, พุทรา, พุทรานม, พุทราบอมส์เบ, พุทราสงวนทอง, พุทราสามรส, พุทราสาลี่, พุทราสีทอง, พรุน, มะกอกฝรั่ง, มะขาม, มะขามเทศ, มะขามหวานสีชมพู, มะขามหวานสีทอง, มะปราง, มะพร้าว, มะพร้าวอ่อนน้ำหอม, มะเฟือง, มะไฟ, มะไฟไข่เต่า, มะไฟเหรียญทอง, มะม่วง, มะม่วงแก้ว, มะม่วงแก้วลืมรัง, มะม่วงเขียวเสวย, มะม่วงโชคอนันต์แก่, มะม่วงโชคอนันต์สุก, มะม่วงน้ำดอกไม้แก่, มะม่วงน้ำดอกไม้สุก, มะม่วงฟ้าลั่น, มะม่วงฟ้าลั่นสามพราน, มะม่วงมันเดือนเก้า, มะม่วงแรด, มะม่วงหนังกลางวัน, มะม่วงอกร่องดิบ, มะม่วงอกร่องสุก, มะละกอ, มะละกอแขกดำ, มังคุด, มังคุดผิวคละ, มังคุดผิวมัน, มะยงชิด, ระกำ, ระกำหวาน, ลองกอง, ละมุด, ละมุดมาเลย์, ละมุดหวานกรอบ, ละมุดหวานสุก, ลางสาด, ลำไย, ลำไยกระโหลก, ลำไยกะโหลก, ลำไยสีชมพู, ลำไยแห้ว, ลำไยอีดอ, ลิ้นจี่, ลิ้นจี่จักรพรรดิ์, ลิ้นจี่ฮงฮวย, สตรอเบอร์รี, ส้ม, ส้มเขียวหวาน, ส้มเขียวหวานสีน้ำตาล, ส้มโชกุล, ส้มฟรีมอค์, ส้มสายน้ำผึ้ง, ส้มสีทอง, ส้มเหนือ, ส้มเช้ง, ส้มโอ, สับปะรด, สับปะรดตราดสีทอง สัปปะรดปัตเวีย, เสาวรส, หลุมพี, หว้า, หม่อน, องุ่น, องุ่นเขียว, องุ่นดำ, องุ่นพันธุ์แดง, อินทผลัม, แอปเปิล, แอปเปิลกาล่า, แอปเปิลเขียว, แอปเปิลฟูจิ, อาโวคาโด



เนื่อง ด้วยบริษัทได้รับรางวัลพระราชทาน สาขาส่งเสริมเกษตรยั่งยืนแห่งปี เพื่อสานต่อเจตนารม และ ต้องการแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรระดับรากหญ้าของประเทศ บ.Happy MPM 1 ในบริษัทที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรชีวภาพ ที่มีคุณภาพสูง ตรงตามความต้องการของพืชทุกชนิด และ แก้ปัญหาต่างๆ ได้ตรงจุด ด้วยนโยบายการลงพื้นที่แบบบ้านต่อบ้าน เพื่อให้เกษตรกรได้ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตสูงขึ้น และ เป็นการส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป...

-รับสมัครตัวแทนแนะนำในพื้นที่ หลายตำแหน่ง
-อายุ 25 ปีขึ้นไป ช/ญ ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์
-ป6 ขึ้นไป อ่านออกเขียนได้
-รายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถ (เริ่มต้นที่ 8 พัน)
-มีรายเดือนและโบนัสให้ด้วยตามความขยัน
-ทำเป็นพาร์ไทม์ได้ไม่กระทบงานประจำ

รับสมัครและเปิดอบรมฟรีทุกวันอาทิตย์ 12.30 น.
ติดต่อที่ คุณ วัฒนา 080-636-6459

ชาวนาเงินล้าน

ชาวนาเงินล้าน


Saturday, July 23, 2011

ทุเรียนนอกฤดู

ทุเรียนนอกฤดู

http://youtu.be/u2eBJx44XjM

http://youtu.be/kdUNpapaWbw

http://youtu.be/AH5wmYI-FxA

วิธีปลูกมะระจีนเงินล้าน

วิธีปลูกมะระจีนเงินล้าน
http://youtu.be/-nO2pygQtu4
http://youtu.be/feK9plYyGIE
http://youtu.be/W50KQxn31qI

พริกขี้หนูสวน

พริกขี้หนูสวน
http://youtu.be/LJJ6qYASyqk
http://youtu.be/5zCJBa9OUYY

ปลูกหอมแบ่งฤดูฝน

ปลูกหอมแบ่งฤดูฝน
http://youtu.be/17xb8w0UqOk
http://youtu.be/Qpgs1SoARrI

แก้ปัญหาเชื้อราแตงโมไร่

แก้ปัญหาเชื้อราแตงโมไร่
http://youtu.be/apCIrN_6q5o`
http://youtu.be/erawlRbUF-8
http://youtu.be/j-k8OUm0NpE

ยางพารา1แผ่น1.4กก.

ยางพารา1แผ่น1.4กก.
http://youtu.be/sviwWaaS5TU
http://youtu.be/KM7zFF3jciw
http://youtu.be/-juyZhNlxsA

ปาล์มน้ำมันออผลทั้งปี

ปาล์มน้ำมันออผลทั้งปี
http://youtu.be/XsFuj0Bd3Zw
http://youtu.be/MH4qhjiqAUg
http://youtu.be/jlLditAAdrY

แก้ปัญหาลำไยหน้าแล้ง

แก้ปัญหาลำไยหน้าแล้ง
http://youtu.be/dpqXdmw6_7I
http://youtu.be/b45Prff14g0
http://youtu.be/Qd237wrfXiE

Make money with orange for farmers ปุ๋ยสำหรับเกษต

Make money with orange for farmers ปุ๋ยสำหรับเกษต
http://youtu.be/xtHAhBgfTrE
http://youtu.be/XDm-Lm8fNnA
http://youtu.be/aFSbeyyDPBk
http://youtu.be/hplA3Zfmn2I
http://youtu.be/GBXilVaQPMc
http://youtu.be/ba9DtPg6Vp8

อ้อย จ.ขอนแก่น 25 ตัน/ไร่

อ้อย จ.ขอนแก่น 25 ตัน/ไร่
http://youtu.be/mcy_rQCPmCM
http://youtu.be/lFkhzwU0S90
http://youtu.be/h2N6-Ff0oXc
อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ   สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ  มีอายุเก็บเกี่ยว  10-12 เดือน  โดยทั่วไปเก็บผลผลิตได้  2-3  ปี   สภาพแวดล้อมพันธุ์  และการบำรุงดูแลรักษา  เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและ คุณภาพของอ้อย  สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้  5-6 ปี  โดยที่ปริมาณการเก็บเกี่ยวคงที่  อ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท   ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ราบ อาจมีปัญหามากในการปลูกอ้อยในดินเหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง  แต่ถ้าการจัดการดี  บำรุงดินดี  ไม่มีน้ำท่วมขัง  ก็สามารถปลูกได้
การเตรียมพันธุ์

พันธุ์ อ้อยควรมาจากแปลงอ้อยที่เจริญเติบโตดี   ตรงตามพันธุ์  ปราศจากโรคและแมลง  มีอายุประมาณ  8-10  เดือน   ถ้าต้องทิ้งพันธุ์อ้อยที่ตัดไว้แล้วในไร่ ควรคลุมท่อนพันธุ์ด้วยใบอ้อยแห้ง เพื่อป้องกันตาอ้อยแห้ง  เกษตรกรควรมีแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 7-8 เดือน)  ปลูกขยายได้ 10  ไร่ ควรแช่ท่อนพันธุ์  หรือฉีดพ่นท่อนพันธุ์  ก่อนทำการปลูก  เพื่อป้องกันโรคใบขาว  กอตะไคร้ โรคแส้ดำ  เหี่ยวเน่าแดง  และกลิ่นสัปปะรด  ด้วยผลผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้  ในอัตราส่วนต่อน้ำ  20 ลิตร
Pic Clue Antira EMS
แฮ็ปปี้ กลู  3-5 ซีซี. แฮ็ปปี้ แอนติรา  50 ซีซี. แฮ็ปปี้ อีเอ็มเอส  20-30 ซีซี.
ฤดูกาลปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน  สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็น  2  ประเภท คือ
การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น  2  เขต  คือ                                                                                     
- ในเขตชลประทาน  (20%  ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ)  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง

    เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน
-  ในเขตอาศัยน้ำฝน  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง  เดือนเมษายน  -  มิถุนายน
การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)  สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวัน  ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดี  และดินเป็นดินทราย  หรือดินร่วนปนทราย   การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลาง  เดือนตุลาคม-ถึงเดือนธันวาคม  ซึ่งจะได้เปรียบในเรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิต  ได้มากกว่า  ค่า CCS.  สูงกว่า  อ้อยต้นฝน  เพราะมีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนานถึง  12 เดือน  ซึ่งอ้อยต้นจะมีอายุการเก็บเกี่ยว  9-10 เดือน
การเตรียมดิน

ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ  และควรไถให้ถึงดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลูกอ้อยใหม่โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
-  ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน  ไม่จำเป็นต้องไถพรวนให้ดินแตก  หรือละเอียดมาก  เพราะถ้าหน้าดิน  ละเอียดมาก  แล้วใส่น้ำลงไปจะทำให้หน้าดินแน่น  เมื่อหน้าดินแห้งแข็ง  หน่ออ้อยไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้  และจะทำให้หน่ออ้อยเน่าตาย
-  อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้อยข้ามแล้ง  ต้องไถพรวนหน้าดินให้ลึกมากจะได้ความชื้นในดินมาก  และให้แตกละเอียด  เพื่อช่วยลด  ความสูญเสียความชื้นภายในดินให้ช้าลง  วิธีปลูกอ้อยข้ามแล้ง  มี  2 วิธี
1.ถ้าปลูกเดือนตุลาคม  ความชื้นในดินมีมากพอ  ไม่จำเป็นต้องใส่น้ำก่อนปลูก
2.ถ้า ปลูกเดือน  ธันวาคม-มกราคม  ควรใส่น้ำก่อนวางท่อนอ้อย  แล้วไถกลบ  ไม่ควรไถกลบก่อนแล้วใส่น้ำ  เพราะจะทำให้หน้าดินแน่น  หน่ออ้อยขึ้นยาก  หรืออาจขึ้นไม่ได้
วิธีการปลูก

-  ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง  1.4-1.5 เมตร  (เดิมใช้ 1.3 เมตร)  วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว  เกยกันครึ่งลำหรือ 2 ลำคู่  ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
-  ถ้าใช้เครื่องปลูก  หลังจากเตรียมดินแล้ว   ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์  โดยจะมีตัวเปิดร่อง   และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ   และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง   และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย   ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่   โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว  1.4-1.5 เมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก   และจะปลูกแถวคู่  ระยะแถว  1.4-1.5  เมตร  ระยะระหว่างคู่แถว  20-30   เซนติเมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
การใส่ปุ๋ย

โดยแบ่งใส่ปุ๋ยเป็น  2  ครั้ง
ใส่ปุ๋ยครั้งแรก : ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ไถ พลวน ชักร่องแล้วปลูก  โดยใช้สูตรต่อไปนี้  ต่อพื้นที่  10 ไร่
ปุ๋ยเคมีสุตร  21-7-18 = 6  กระสอบ Pic Happy Tree Pic EMS
สารปรับปรุงดิน  แฮ็ปปี้ ทรี  20 ถุง สารแตกราก แตกหน่อ  แฮ็ปปี้  อีเอ็มเอส  1 ขวด
                          สำหรับรองพื้นในพื้นที่  10 ไร่  อาจใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ร่วมด้วย


ส่ปุ๋ยครั้งที่สอง : ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 – 4 เดือน
ปุ๋ยเคมีสูตร  21-7-18 = 6กระสอบ Pic Happy Tree Pic Plenty Pic Crow
สารปรับปรุงดิน  แฮ็ปปี้ ทรี  20 ถุง   สารเพิ่มค่า  CCS.  แฮ็ปปี้ เพลนตี้  1 ขวด สารเร่งการเจริญเติบโต  แฮ็ปปี้ โกร์ว  1 ขวด
                                      ใส่ในพื้นที่  10 ไร่  แต่งหน้าครั้งสุดท้าย

การป้องกันกำจัดวัชพืช

-ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ  4  เดือน

-ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก  เมื่อมีวัชพืชงอก

-ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อคุมฆ่า
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก

- การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว   เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ   อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความ หวาน  และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช   และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอแนวทางแก้ไข  คือ  ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่ (กองรวมกัน)  ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งไว้ในไร่
- การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว  เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ   หลังจากที่มีหน่องอกแล้วและทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย   แต่มีผลเสียตามมา  คือ
*  เป็นการทำลายวัตถุอินทรีย์ในดิน
*  ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
*  หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
*  มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
*  มีหนอนกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข  คือ  ใช้เครื่องสับใบอ้อย  คลุกเคล้าลงดิน  ระหว่างแถวอ้อย  และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ  ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที

จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
- การเผาใบก่อนการเตรียมดิน  เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก  เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ

มีผลเสียตามมาคือ  เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ  ดินอัดแน่นทึบ  ไม่อุ้มน้ำ  น้ำซึมลงได้ยาก

แนวทางแก้ไข  คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย  และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน  ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียมดิน

วิธีปลูกอ้อยให้ได้ 25 ตัน/ไร่

วิธีปลูกอ้อยให้ได้ 25 ตัน/ไร่
http://youtu.be/_iQOO3B95pk
http://youtu.be/WDUPadvKDtA
http://youtu.be/iDjbBtR7C64

ข้าวโพดไร่ไม่ใส่ปุ๋ยรองพื้น

ข้าวโพดไร่ไม่ใส่ปุ๋ยรองพื้น
http://youtu.be/dXE7USp_0s0
http://youtu.be/womDwDKiWGw
http://youtu.be/jdYvCpDmH14

เพิ่มผลผลิตข้าวโพดไร่

เพิ่มผลผลิตข้าวโพดไร่
http://youtu.be/VoDLkuHL14Y
http://youtu.be/HZrYFR3DOOE
http://youtu.be/Y_QmU752tlY
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์



สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม



• ความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 1,000  เมตร



• ความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์



• ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนทราย หรือดินเหนียว



• ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์  มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ไม่น้อยกว่า 10 ส่วน  ในล้านส่วน  โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 60 ส่วน  ในล้านส่วน



• การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี



• ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร



• ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-7.0



• อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส



• ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี



พันธุ์ที่นิยมปลูก



มีอายุเก็บเกี่ยว 100-120  วัน แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ปราจีนบุรี สระบุรี  ลพบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ สุโขทัย และเลย มี 2 กลุ่ม



พันธุ์ลูกผสม



• เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่  ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกไหม และเก็บเกี่ยว  ให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด จึงเป็นที่ต้องการของตลาด
• ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้



• ทุกพันธุ์ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง ยกเว้น นครสวรรค์ 72 และสุวรรณ 3851





ฤดูปลูก
• ต้นฤดูฝน เดือนเมษายน-พฤษภาคม



• ปลายฤดูฝนเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม


การเตรียมดิน



• ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง  ลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน  พรวนด้วยผาลเจ็ด 1 ครั้งปรับระดับดินให้สม่ำเสมอ

แล้วคราดเก็บเศษซากราก เหง้าหัวและไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
วิธีการปลูก  ปลูกด้วยเครื่องปลูก


• ใช้รถแทรกเตอร์ลากจูงเครื่องปลูกพร้อม  ปรับให้มีระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 20เซนติเมตร จำนวน 1 ต้นต่อหลุม  หรือ อัตราปลูกประมาณ 10,600 ต้นต่อไร่ ใช้เมล็ด 2-3 กิโลกรัมต่อไร่  โดยใช้วิธีการต่อไปนี้ที่ได้ประโยชน์สูงสุด  โดยไม่ใช้ปุ๋ยรองพื้น  และป้องกันโรคราน้ำค้าง  และโรคราสนิม
เมล็ดพันธุ์ ข้าวโพด  30 กก. Pic Happy Tree Pic EMS Pic Antira
  สารปับปรุงดิน  แฮ็ปปี้ ทรี  1 ถุง สารเร่งราก  เร่งการเจริญเติบโต
แฮ็ปปี้ อีเอ็มเอส  200 ซีซี.
สารป้องกัน  กำจัด  โรคราน้ำค้าง
ราสนิม  แฮ็ปปี้แอนติรา  200  ซีซี. 
วิธีผสม อีเอ็มเอส 200 ซีซี. แอนติรา 200 ซีซี. คลุกเคล้า กับเมล็ดพันธุ์  30 กก. คลูกเคล้ากับเมล็ดพันธุ์ให้เปียกก่อน  จึงใส่แฮ็ปปี้ทรี 1 ถุง  คลุกเคล้าอีกครั้งใหเข้ากัน (สุตรนี้ใช้ปลูกในพื้นที่ 10 ไร่ หากพื้นที่ปลูก  ลดลงหรือเพิ่มขึ้น  ให้คำนวนตามสัดส่วน)  หลังจากนั้นให้นำไปปลูกทันที 
การให้ปุ๋ย  ครั้งที่ 1  เมื่อข้าวโพดอายุได้  30 วัน
ปุ๋ยเคมีสูตร  46-0-0 อัตราส่วน  10 กก.ต่อไร่  เพื่อความสมบูรณ์ของต้น  และทำให้ปุ๋ยเคมีใช้ได้ประโยชน์สูงสุด  ธาตุไนโตรเจนไม่ระเหยไปกับอากาศ  และปรับค่า pH ดิน  ดังนี้
ปุ๋ยเคมีสูตร  46-0-0 = 1กระสอบ (50 กก.) Pic Happy Tree Pic EMS
สารปรับปรุงดิน  แฮ็ปปี้ทรี  5 ถุง  สารเร่งราก  เร่งการเจริญเติบโต
แฮ็ปปี้  อีเอ้มเอส 200  ซีซี. 
วิธีผสม  เทปุ๋ยกองกับพื้น  ใช้  อีเอ้มเอส 200 ซีซี. ผสมน้ำเปล่า  300 ซีซี.  รวมกันแล้วให้ได้  ครึ่งลิตร  แล้วผสมปุ๋ย ยุเรียให้เปียกก่อน  หลังจากนั้นเทสารบำรุงดิน  แฮ็ปปี้ทรี  5 ถุง  ผสมคลุกเคล้าให้กันกับปุ๋ยอีกครั้ง  (สูตรนี้ใช้หว่านในพื้นที่  5 ไร่  หากพื้นที่ปลูก  ลดลง  หรือเพิ่มขึ้น  ให้คำนวนตามสัดส่วน)
การใส่ปุ๋ยครั้งที่  2 เมื่อข้าวโพดอายุได้  45 วัน
ปุ๋ยเคมีสูตร  15-15-15 หรือ 13-13-21  อัตราส่วน  25 กก.ต่อไร่  เพื่อทำให้ปุ๋ยเคมี  มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ธาตุไนโตรเจน  ไม่ระเหยไปกับอากาศ  เพิ่มขนาด  และน้ำหนักของฝักข้าวโพด  ตามขั้นตอนดังนี้   
ปุ๋ยเคมีสูตร  15-15-15
หรือสูตร      13-13-21
อย่างใดอย่างหนึ่ง = 5  กระสอบ
Pic Happy Tree Pic Plenty Pic Crow
สารปรับปรุงดิน  แฮ็ปปี้ทรี  10 ถุง สารเพิ่มแป้ง  เพิ่มน้ำหนัก
แฮ็ปปี้ เพลนตี้  200 ซีซี.
สารเร่งขนาดฝักข้าวโพด
แฮ็ปปี้โกร์ว 100 ซีซี.
วิธีผสม เทปุ๋ยกองรวมกันกับ พื้น  ใช้แฮ็ปปี้เพลนตี้  แฮ็ปปี้โกร์ว  ผสมกับน้ำเปล่า  ให้ได้ปริมาณ  5 ลิตร  ผสมรวมกับปุ๋ย  5 กระสอบ  เพื่อทำให้ปุ๋ยเปียกชื้นก่อน  หลังจากนั้นให้เทแฮ็ปปี้ทรี  10 ถุงผสมรวมกันกับปุ๋ยคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้งอีกครั้ง (สูตรนี้ใช้ใส่ใน พื้นที่  10 ไร่  หากขนาดพื้นที่  ลดลง  หรือเพิ่มขึ้น  ให้คำนวนตามสัดส่วน 

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
http://youtu.be/XGG_jSQu-wM
http://youtu.be/nC-KWZEVer0
http://youtu.be/KYe2StF1nOw

ปลูกอ้อยในดินเสื่อมโทรม

ปลูกอ้อยในดินเสื่อมโทรม
http://youtu.be/AKkY80GvUFQ
http://youtu.be/xtNJFRedDNw
http://youtu.be/GqvIydUIdj0

Make money with farmers of potato ปุ๋ยสำหรับเกษต

Make money with farmers of potato ปุ๋ยสำหรับเกษต
http://youtu.be/e_fSN5fBFZE
http://youtu.be/rJTo3mNJ4YQ
http://youtu.be/yW2afzHJfPg
http://youtu.be/-TXfndpAbc8
http://youtu.be/M2NqVx7nX8k
http://youtu.be/ILldX7PtAyg

Make money with rice for farmers Happympm ปุ๋ยสำหรับเกษต

Make money with rice for farmers Happympm ปุ๋ยสำหรับเกษต




แก้ปัญหาข้าวเป็นเช้ื้อรา

แก้ปัญหาข้าวเป็นเช้ื้อรา
http://youtu.be/XzDW4mqPGU0
http://youtu.be/HFUvvZcPAEw
http://www.youtube.com/watch?v=aInFGgnCNMw&feature=player_embedded
แก้ปัญหาหมายถึงอะไร?
  • หมาย ถึง เกิดปัญหาขึ้น ก็ต้องกำจัดจัดให้หมดไป นาข้าวมีปัญหาด้วยหรือ หลายคนอาจเถียงในใจ เพราะคิดอยู่เสมอว่า การปลูกข้าวถือว่าง่ายที่สุดกับการปลูกพืชชนิดอื่น  และตั้งแต่สมัยโบราณ  ปู่ ย่า ตา ยาย  ทำนาปลูกข้าวไม่เห็นมีปัญหาอะไร?   
คนโบราณเขาปลูกข้าวกันอย่างไรถึงได้ไม่มีปัญหา?
  • พันธุ์ ข้าวเขาก็ให้ธรรมชาติคัดให้  แต่ละพื้นที่  แต่ละภาคของประเทศ  ก็ใช้พันธุ์ข้าวแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของพื้นที่  จึงมีความต้านทานต่อปัญหาต่างๆ  ได้เป็นอย่างดี  ในที่นี้คงไม่ต้องแนะนำพันธุ์ข้าวโบราณเพราะในปัจจุบันไม่มีคนนิยมปลูกแล้ว ถึงมีบ้างก็เล็กน้อยด้วยสาเหตุหลายอย่าง  อย่างที่สำคัญคือเก็บผลผลิตได้น้อย  อาจลืมไปว่า  พันธุ์ข้าวโบราณเป็นสายพัธุ์ข้าวที่มีปัญหาน้อยที่สุด
คนโบราณทำนาปีละครั้งได้ประโยชน์สูงสุด
  • คนโบราณไม่เดือดร้อนกับ ชีวิตประจำวัน  มีความเป็นอยู่แบบสุขสบาย  ไม่อดอยาก  ที่นาก็มีมากแล้วแต่จะจับจองแผ้วถางเท่าไรก็ได้สุดแต่กำลังของตน  จนเป็นคำกล่าวติดปากเรื่อยมาว่า  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  นอกจากความอุดมสมบุรณ์ของดินในสมัยโบราณแล้ว  หลังฤดูเก็บเกี่ยว  เดือนธันวามคม-เดือนมกราคม  กว่าจะเริ่มฤดูทำนาในเดือน พฤษภาคม  ทำให้ดินมีโอกาสพักตัว 3-4 เดือน  และคนโบราณทำนาปลุกข้าวโดยไม่ต้องใช้สารเคมีซักนิดเดียว  จึงทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์แบบต่อเนื่องและยืนยาว
ดินมที่สมบูรณ์  หมายถึงต้นข้าวที่แข็งแรง
  • คำว่าความสมบูรณ์ของ ดินหมายถึง  สภาพดินที่ร่วนซุย  อุดมไปด้วยอินทรีย์วัตถุ  มีทั้งธาตุอาหารหลักอาหารรองครบถ้วน  ต้นข้าวจึงมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง  นั่นหมายถึงความต้านทานต่อ  โรค  แมลง  ได้อย่างดีทีเดียว
50  ปีให้หลัง  มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 
  • มีพันธุ์ข้าวลูกผสมเกิดขึ้นมาใหม่  ผลวิจัยจากนักวิชาการ  โดยมีสายพันธุ์ใหม่มาเรื่อยๆ  แต่ละสายพันธุ์เน้นการ เพิ่มผลผลิตให้ได้มากๆ  และอายุการเก็บเกี่ยวสั้นลง 
พันธุ์ข้าวที่ธรรมชาติคัด  กับมนุษย์คัด  มีความแตกต่างกันหลายอย่าง
  • พันธุ์ ข้าวลูกผสม  จะเป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อแสง  คือออกรวงและเก็บเกี่ยวตามอายุ  ส่วนใหญ่จะมีอายุการเก็บเกี่ยว 120 วัน  ซึ่งสามารถปลุกได้ตลอดทั้งปี  ในเขตชลประทาน  1 ปีสามารถปลูกได้ 1-3 ครั้ง  ที่เรียกว่าการปลูกข้าวนาปรัง  ต่างจากพันธุ์ข้าวที่ธรรมชาตคัด  ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่ไวต่อแสง  จะออกรวงในเดือนที่มี  กลางวัน  สั้นกว่า  เวลากลางคืน  คือเวลากลางวัน  11 ชม. กลางคืน  13 ชม.  จะอยู่ในช่วงปลายเดือน  ตุลาคม  จึงสามารถปลูกได้ปีละ  1  ครั้งเท่านั้น  ที่เรียกว่า  ข้าวนาปี  
ปัจจุบัน  เริ่มมีความต้องการปลูกข้าวพัธุ์ลูกผสมมากขึ้นเรื่อยๆ 
  • ประชากรเพิ่มมากขึ้น  ความต้องการอาหารก้เพิ่มตามมา  พื้นที่ทำนาแต่ละครัวเรือนก็ลดน้อยลงไป  มีทางเดียวเท่านั้นคือ  ต้องเพิ่มผลผลิต  ให้ได้มากที่สุด  ในเขตชลประทาน  มีการทำนาปลูกข้าวกันปีละ  3-4  ครั้ง  แรกๆ  ก็ดีมากๆ  ชาวนามีคุณภาพมากขึ้น  มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในขณะที่มีที่ดินปลูกข้าวกันครอบครัวละไม่มากนัก  หารู้ไม่ว่าการทำนาของชาวนาในปัจจุบัน  คือต้นเหตุของปัญหา
ปัญหาที่เกิดจากพันธุ์ข้าวลูกผสม
  • ส่วนใหญ่พันธุ์ข้าว  ลูกผสมจะให้ผลผลิตมากก็จริง  แต่อ่อนแอ  ไม่ต้านทานโรคแมลง  เช่น  ไม่ต้านทานโรคเขียวเตี้ย  โรคไหม้  โรคใจุดสีน้ำตาล  หนอนกอ  หนอนห่อใบข้าว  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว  เป็นต้น   แต่พอมาพูดถึงคนทำนา  ก็ไม่ได้เกลงกลัวปัญหาเหล่านี้สักเท่าไหร่  เขาคิดอยู่เสมอว่า  ถ้าปัญหาเกิด  ก็ใช้  สารเคมีกำจัด  สุดท้ายก็กำจัดได้เพียงชั่วครู่  พอโรคแมลงดื้อต่อสารเคมี  ก็ไม่สามารถกำจัดได้  ต้องเปลี่ยนสารชนิดใหม่ๆ  ไปเรื่อยๆ  จนปัจุบันมี่สารเคมีที่กำจัดโรคแมลงในท้องตลาด  มากกว่า  108 ชนิด
ปัญหาที่เกิดจากวิธีการปลูก
  • การเข้าใจวิธีปลูกข้าว  จะช่วยลดปัญหาได้เป็นอย่างดี  แต่ก่อนนิยมใช้วิธีปักดำ  โดยการเพาะกล้าในแปลงเล็กๆ  แล้วจึงย้ายกล้าลงไปปักดำในแปลงนาอีกที  มีข้อดีตรงที่ต้นข้าวมีระยะห่างระหว่างต้นสม่ำเสมอ  จึงมีการถ่ายเทอากาสได้ดี  ไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง  ข้อเสียคือต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก  และต่อมาก็ขาดแรงงานในการปักดำ  ชาวนาก็ใช้วิธีการใหม่โดยการหว่านน้ำตม  เพาะเมล็ดข้าวให้งอก  แล้วหว่านลงในแปลงนาโดยใช้อัตราส่วน  15  กก.ต่อไร่  ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก  ก็ถือว่ายังเป็นวิธีที่ใช้ได้ดี  แต่ทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น  มีการเพิ่มอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มากขึ้น  โดยคิดว่า  มีต้นข้าวในนามากๆ  ก็จะได้รวงมาก  บางรายใช้อัตราส่วน  30-40  กก.ต่อไร่  นี่ คือจุดแรกของปัญหาที่ต้องแก้ไข  ต้นข้าวหนาแน่นเกินไป  ก็ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาก  เป็นที่สะสมของโรคและแมลง  และจุดที่สอง  การทำนาปีละ  1-4  ครั้ง  ทำให้เวลาปลูกไม่พร้อมกัน  ข้าวจึงเป็นห่วงโซ่อาหารให้กับโรคแมลงตลอดทั้งปี
วินิจฉัยโรคผิด  ปัญหาไม่จบ
  • โรคเมาตอซัง  สาเหตุ เกิดจากหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จปลูกข้าวต่อทันที  โดยที่ตอซังยังไม่ย่อยสลาย  ในขณะที่เมล็ดข้าวงอกและลำต้นเจริญเติบโตขึ้นมาอาจไม่สังเกตุเห็นสิ่งผิด ปกติมากนัก  แต่พอหลังจากฉีดยาคุมฆ่าหญ้า  แล้วปล่อยน้ำเข้าแปลงนา  ช่วงนี้จะสังเกตุเห็นอาการของโรคได้ชัดเจน  เนื่องจากตอซังที่ยังสดอยู่  เมื่อมีน้ำท่วมขัง  ตอซังก็จะเริ่มย่อยสลายจากเชื้อจุลลินทรีย์ตามธรรมชาติ  ระหว่างนั้นอุณหภูมิใต้ดินจะสูงขึ้น  ประกอบกับการเกิดก๊าซมีเทนขึ้นมาพร้อมๆกัน  จะทำให้รากข้าวมีสีน้ำตาลเข้ม  ไม่มีสีขาว ที่ชาวนาเรียกว่าโรครากดำ  ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต  ใบไหม้รุนแรงเนื่องจากเชื้อรา  วิ๊แก้ปัญหาของชาวนา  คือหว่านปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)  ยิ่งใส่ปุ๋ยยูเรียข้าวยิ่งตาย  เพราะไม่มีรากสีขาวเพื่อดูดซับปุ๋ย วิธการที่ถูกต้อง  เมื่อ พบอาการต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง อย่างน้อย 7 วัน  ระหว่างที่ปล่อยน้ำ  ควรฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อรา  พร้อมอาหารเฉพาะทางเพื่อเร่งการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  สัง เกตุหน้าดินควรแห้งสนิทแตกระแหงเล็กน้อย  รากข้าวออกใหม่มีสีขาวให้เห็นชัดเจน  ปล่อยน้ำเข้าแปลงได้เลย  หว่านปุ๋ย ยูเรีย  46-0-0  อัตราส่วน  10 กก.ต่อไร่  สารปรับปรุงดิน  2 กก.ต่อไร่  ฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อรา  อารเฉพาะทางเร่งการเจริญเติบโตอีกครั้ง  ขบวนการต้องลงตัว  ชัดเจน
 ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น

Pic Happtree, EMS, Antira, Protector, Glue
  • โรคไหม้  ใบจุดสีน้ำตาล  จะ เห็นอาการชัดเจนระยะข้าวอายุ  45  วันขึ้นไป  อาการไหม้  หรือจุดสีน้ำตาลจะเกิดขึ้นที่ใบแก่  คือใบล่างของต้นข้าว  และจลามขึ้นไปเรื่อยๆ  อย่างรวดเร็ว  ถ้ากำจัดไม่ได้โรคก็จะเกะทำลายเมล็ดข้าว  ที่เรียกว่า  โรคเมล็ดด่าง  ต้องกำจัดให้เด็ขาดก่อนที่ข้าวจะตั้งท้อง  ด้วยวิธีการเดิม  คือปล่อยน้ำให้แห้ง (ต้องน้ำแห้งเท่านั้น)  แล้วฉีดพ่นอีก  1-2  ครั้ง  โดยใช้ผลิตภัณฑ์ชุดเดิม  อาการของโรคหายสนิทแล้วจึงปล่อยน้ำเข้าแปลง  แล้วหว่านปุ๋ยตามปกติ
ปัญหาไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเสมอไป  ขั้นตอนดีไม่มีปัญหา 

Friday, July 22, 2011

Table

HAPPY TREE

Bookmark and Share



Happy Treeแฮ็ปปี้ ทรี สารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ ทรี เป็นสารปรับปรุงดิน ที่ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินมีการถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้มาก ทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ตามความต้องการของพืช ช่วยให้พืชใช้ปุ๋ยได้ถึง 80 % โดยน้ำหนัก ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ย, การทำลายของแมลงศัตรูพืชซิลิก้า (Sio2) 71.75%, การใช้ยาฆ่าแมลง, สารพิษตกค้างน้อยลง และช่วยปรับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก ส่วนประกอบที่สำคัญ - ซิลิก้า แอซิค หรือ ซิลิก้า เป็นธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตสมบูรณ์ของต้นและเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพืชฯลฯ ประโยชน์ที่พืชได้รับ 1. ช่วยให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสมบูรณ์
2. มีความต้านทานต่อโรค ประเภทเชื้อราได้ดี
3. เป็นสารอาหารที่สำคัยต่อต้นอ่อน
4. เป็นส่วนประกอบสำคัญของจมูกข้าว
5. ช่วยเพิ่มน้ำหนักที่แห้งของเมล็ดพืชให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
6. ช่วยให้ปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า

................................................................................................
แฮปปี้ ทรี (สารบำรุงดิน)
รหัสสินค้า: 000004
ราคา 130.00 บาท
เกษตร: สารบำรุงดิน
รายละเอียด: สารปรับปรุงดิน Happy Tree
1. ลดความเป็นพิษในดิน อันมีสาเหตุมาจากสารตกค้างของยาฆ่าแมลง
2. ทำให้พืชแข็งแรง โตเร็ว มีความทนทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืช
3.ผสมกับปุ๋ยได้ทุกสูตรทุกยี่ห้อทำให้ปุ๋ยละลายช้าช่วยยืดระยะเวลาการดูดซึมของพืชทำให้มีผลช่วยประหยัดปุ๋ย
..........................................................................................
รหัสสินค้า -
รายละเอียด เป็นสารปรับปรุงดิน ที่ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินมีการถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้มากทำให้พืชเจริญเติบโตเร็วปลดปล่อยธาตุอาหารให้ได้ตามความต้องการของพืชช่วยให้พืชใช้ปุ๋ยได้ถึง 80 % โดยน้ำหนัก ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ย การทำงายของแมลงศัตรูพืชซิลิก้า (Sio2) 71.75 % การใช้ยาฆ่าแมลง สารพิษตกค้างน้อยลง และช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นธรรมชาติส่วนประกอบที่สำคัญ
ดินเสื่อมพืชไม่กินปุ๋ย
สมาชิกต้องทำความเข้าใจเรื่องดินเป็นกรด และเป็นด่าง (ค่าpH) ให้ชัดเจนก่อนเพราะเป็นหัวใจหลักของเกษตรกร และเป็นหลักวิชาการของการปลูกพืชที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งมีเกษตรกรส่วนน้อยที่ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง พร้อมกับการนำเสนอสารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ทรี ได้อย่างง่ายดายและชัดเจน ไม่ต้องโฆษณาเกินความเป็นจริงก็มีคนอยากใช้ค่าpH คืออะไร ค่าpHเป็นค่าที่ใช้บอกความแรงของกรด หรือด่าง(เบส) อย่างง่ายๆ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับผลิตภัณฑ์ทั่วไปไม่เฉพาะพวกสารเคมี เรื่องดินและน้ำ คนทั่วไปเข้าใจได้ ค่าpHนี้กำหนดโดยความเข้มข้นของโปรตอนในสารละลาย
ยิ่งโปรตอนเข้มข้นมากซึ่งก็คือเป็นกรดมาก pHจะต่ำ ในทางกลับกันถ้าสารละลายเป็นด่าง(เบส) คือความเข้มข้นของโปรตอนต่ำ pHจะสูงในการวัดความเป็น กรด–ด่าง(เบส) ในสารละลายนั้น เราใช้คำว่า “pH” เป็นตัวบ่งชี้ ตัว p ย่อมาจาคำว่า power ซึ่งมีความหมายในเชิงยกกำลัง ส่วน H นั้นหมายถึง ความเข้มของประจุไฮโดรเจน pH มีค่าเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 – 14 สารประกอบที่มีค่า pH 5 มีประจุไฮโดรเจนมากกว่า สารประกอบที่มีค่า pH 6 ถึง 10 เท่า น้ำบริสุทธิ์มีค่า pH เป็นกลางอยู่ที่ pH 7 นั้นหมายถึง น้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีประจุไฮโดรเจน และประจุไฮดรอกไซด์ อยู่จำนวนเท่ากันคือ 1x10–7 โมล pH มีค่าน้อย แสดงว่า สารประกอบนั้นมีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำมะนาวมี pH=2.3 pH มีค่ามาก แสดงว่า สารประกอบนั้นมีความเป็นด่าง(เบส)สูง เช่น น้ำยาทำความสะอาดพื้นมี pH = 13 สิ่งมีชีวิตในน้ำส่วนมากมักอาศัยอยู่ในน้ำที่มีค่า pH 6.5 – 9 โดยปกติน้ำฝนตามธรรมชาติจะมีความเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากการละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แต่ทว่าในเขตอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเสียออกมา จะทำให้เกิดสภาวะฝนกรด น้ำฝนที่สะสมอยู่ในแหล่งน้ำทำให้ค่า pH ต่ำลง เมื่อ pH ต่ำกว่า 5.5 ปลาจะตายหมดเมื่อ pH มีค่าต่ำกว่า 4 จะไม่มีสิ่งมีชีวิตใดทนทานได้เลยการศึกษาความเป็นกรด – ด่าง(เบส) ของน้ำจึงมีความสำคัญมากต่อการประมงและการเกษตรความเป็นกรดเป็นด่างของดิน มีความสำคัญอย่างไรช่วงของ pH ของดินโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ระหว่างประมาณ 3.0 - 9.0 ค่า pH 7.0 บอกถึงสภาพความเป็นกลางของดิน กล่าวคือ ดินมีตัวที่ทำให้เป็นกรดและตัวที่ทำให้เป็นด่างอยู่ในปริมาณเท่ากันพอดี ค่าที่ต่ำกว่า 7.0 เช่น 6.0 บอกสภาพความเป็นกรดของดิน ในกรณีนี้เมื่อดินมี pH 6.0 เราก็จะทราบว่าดินเป็นกรดอย่างอ่อน มีสภาพเป็นกรดมากกว่าดินที่มี pH 7.0 (เป็นกลาง) สิบเท่า ค่า pH ของดินยิ่งลดลงเท่าใด สภาพความเป็นกรด ก็รุนแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น ดินที่มี
pH 5.0 จะเป็นกรดมากกว่า pH 6.0 สิบเท่า แต่ละค่าของ pH ที่ต่างกันหนึ่งหน่วยจะบอกความเป็นกรดที่แตกต่างกันสิบเท่า เช่นเดียวกับดินที่มี pH สูงกว่า 7.0 เท่าใด ความเป็นด่างก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และจะเป็นด่างมาก ขึ้นเป็นสิบเท่าต่อความแตกต่างกันหนึ่งหน่วยของค่า pH ระดับความรุนแรง ของความเป็นกรด-ด่าง ของดิน สามารถบอกได้จากค่าของ pH ดังนี้ค่าของ pH ของดิน สามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรด ในภาคสนาม สามารถใช้ชุดตรวจสอบชนิดใช้น้ำยาเปลี่ยนสีตรวจสอบ เรียกว่า wbr pH Test Kit หรือชุดตรวจสอบ pHความเป็นกรดของดินจะมีสภาพเหมือนกับกรดอย่างอ่อน เช่น กรดน้ำส้มสายชู ตัวที่แสดงความเป็นกรดคือ ไฮโดรเจนไอออน (H+) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเคมีของดิน กล่าวคือ ทำให้มีการละลายตัวของธาตุหรือสารต่างๆ ในดินออกมา บ้างก็เป็นประโยชน์ บ้างก็อาจเป็นพิษต่อพืช เช่น ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงจะทำให้มีธาตุ พวกอะลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมาอยู่ในน้ำในดินมากเกินไป จนเกิดเป็นพิษขึ้นแก่พืชที่ปลูกได้ แมงกานีสและเหล็กแม้จะเป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญ แต่พืชต้องการในปริมาณน้อย ถ้ามีสะสมอยู่ในดินมากจนเกินไปก็จะเกิดเป็นพิษขึ้นกับพืชได้ ดินที่มีค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4.5 ลงไปเรามักพบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่างๆ ในดินที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้ได้ง่ายและมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพหรือระดับ pH ของดินเป็นอย่างมาก ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินจะคงสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีปริมาณมากที่ pH ช่วงหนึ่ง ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วงนั้นๆ ก็เปลี่ยนสภาพเป็นรูปที่ยากที่พืชจะดึงดูดเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ เช่นธาตุ ฟอสฟอรัส จะอยู่ในรูปของสารละลายที่พืชดึงดูดไปใช้ได้ง่าย เมื่อดินมี pH อยู่ระหว่าง 6.0-7.0 ถ้าดินมี pH สูง หรือต่ำกว่าช่วงนี้ ความเป็นประโยชน์ของ ธาตุฟอสฟอรัส ในดินก็ลดน้อยลง เพราะไปทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้ง่ายขึ้น และแปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ปุ๋ยฟอสฟอรัส ที่เราใส่ลงไปในดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้มากที่สุดก็เมื่อดินมี pH อยู่ในช่วงดังกล่าว ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ลงไปในดินจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งหมด แต่จะสูญเสียไปโดยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดิน แปรสภาพเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากเสียกว่า 80% ซึ่งเราเรียกว่าฟอสฟอรัสถูกตรึง ปุ๋ยฟอสฟอรัส จะถูกตรึงได้ง่ายและมากขึ้นไปกว่านี้ได้อีก ถ้าดินมี pH สูงหรือต่ำกว่าช่วง pH 6.0-7.0 และที่สำคัญจะทำให้ธาตุ โพแทสเซี่ยม ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ในกรณีที่ฟอสฟอรัสถูกตรึง

อินทรียวัตถุในดินมีความสำคัญมาก เนื่องจากช่วยทำให้ดิน โปร่งและร่วนซุย เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของรากพืช นอกจากนั้นยัง สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารพืชที่สำคัญ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และธาตุอื่นๆ ให้แก่พืช การไถพรวนดินเพื่อการเพาะปลูกใน พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และไม่มีวิธีการอนุรักษ์ดินที่ถูกต้อง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการชะล้างพัง ลายสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อหน้าดินที่มีธาตุอาหารและอินทรียวัตถุอันอุดมสมบูรณ์หายไป หน้าดินที่เหลืออยู่คือดินชั้นล่างจะเป็นดินเลว เนื่องจากมีธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุน้อย เป็นกรดจัด ไม่สามารถปลูกพืชให้งอกงาม อีกต่อไป

พืชที่ปลูกในดินเลวจะขาดแคลน ธาตุอาหาร พืชจะเหลืองและ ให้ผลผลิตต่ำ ส่วนดินที่มีธาตุอาหารเพียงพอ พืชจะเขียวเจริญงอกงาม ให้ผลผลิตสูง ส่วนที่เป็นผลิตผลของพืชที่ปลูกและ เก็บเกี่ยวขาย จะเป็นตัว การสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินส่วนของพืชที่สัตว์ กินและถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยคอกกลับคืนสู่ดิน จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็น ประโยชน์แก่พืชอีกครั้งหนึ่ง ธาตุอาหารในดินที่ติดไปกับผลิตผลจะสูญเสียไป อย่างถาวร แต่เราสามารถใช้ปุ๋ยชดเชยหรือเพิ่มเติมให้กับดินจนพอเพียงแก่ ความต้องการของพืชได้

และในความเป็นจริงปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้เลี้ยงสัตว์หรือมีส่วนน้อย จึงไม่มีมูลสัตว์เพียงพอในการปรับปรุงดิน
พื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันจึงค่อยๆเสื่อมลงไปเลื่อยๆโดยที่ตัวเกษตรกรเองไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
ค่า pH ของดินที่เหมาะกับพืชบางชนิด

1 ข้าว 5.5-6.0

2 ผักกาดหัว กะหล่ำดอก ขึ้นฉ่าย ถั่วลันเตา ผักกาดหอม 6.0-7.0

3 กะหล่ำปลี แครอท คะน้า 5.7-7.0

4 ยาสูบ 5.4-5.7

5 มันเทศ 5.5-7.0

6 ฝ้าย 6.0-8.0

7 สับปะรด 5.0-6.0

ธาตุอาหารพืชพวกจุลธาตุ (micronutrients)
เช่น สังกะสี เหล็ก แมงกานีส โบรอน เป็นต้น จะละลายออกมาอยู่ในสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย และมีอยู่ในดินอย่างพอเพียงกับความต้องการของพืช เมื่อดินมี pH เป็นกรดอย่างอ่อนถึงกรดปานกลางมากกว่าเมื่อดินมี pH เป็นกลางหรือเป็นด่าง แต่ในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารโมลิบดินัม จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ดีขึ้น ถ้าดินมี pH เป็นกลางถึงด่างอย่างอ่อน อย่างไรก็ตามเมื่อสรุปความเสียเปรียบและได้เปรียบระหว่างความเป็นกรดและเป็นด่างของดินแล้ว ดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชควรจะมีpHอยู่ในช่วงเป็นกรดอย่างอ่อนถึงเป็นกรดปานกลาง(6.0-7.0)

ความสำคัญของ pH ของดินยังเกี่ยวข้องอยู่กับการทำงานที่เป็นประโยชน์ของจุลินทรีย์ต่างๆ ในดินด้วย ปกติสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ในดินจะเน่าเปื่อยผุพังได้ก็โดยที่มีจุลินทรีย์ต่างๆ เข้าย่อยทำลาย ขณะที่สารอินทรีย์พวกนี้กำลังสลายตัวก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมาซึ่งรากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้ พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วทำให้พืชงอกงามดีขึ้นนั้นก็เนื่องจากจุลินทรีย์พวกนี้เข้าย่อยและทำให้ปุ๋ยคอกสลายตัว และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกทีหนึ่ง การที่ปุ๋ยคอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ช้ากว่าปุ๋ยเคมี ก็เนื่องด้วยเหตุที่ปุ๋ยคอกต้องรอให้จุลินทรีย์เข้าย่อยให้สลายตัวเสียก่อน ซึ่งผิดกับปุ๋ยเคมีเมื่อละลายน้ำแล้วพืชก็สามารถดึงดูดเอาธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้ได้ทันที จุลินทรีย์ต่างๆ ที่เข้าย่อยสลายปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ต่างๆ
ตลอดจนฮิวมัสในดินนั้นจะทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ เมื่อ pH ของดินอยู่ระหว่าง pH 6-7 ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงถึงกรดรุนแรงมาก จุลินทรีย์ในดินจะทำงานได้ช้าลง ปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ในดินจะสลายตัวและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ช้ามาก

เมื่อดินเป็นกรดรุนแรงและกรดรุนแรงมากนั้น มักจะพบว่าพืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโต และงอกงามเท่าที่ควร เราสามารถแก้ไขดินที่เป็นกรดมากจนเกินไปนี้ (pH ต่ำกว่า 5.0) ให้มีระดับ pH สูงขึ้น (6.0-7.0) ได้โดยการใส่สารประกอบพวกปูนขาว (Ca(OH2)) หินปูนที่บดละเอียดเป็นฝุ่น (CaCO3) และปูนมาร์ล (marl) ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกันกับหินปูน สารประกอบพวกนี้เมื่อใส่ลงไปในดินจะมีฤทธิ์เป็นด่างและจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับกรด ทำให้สารพวกกรดในดินลดน้อยลง และมีสารพวกด่างสูงขึ้น

หมายเหตุ ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายหน่วยงานควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนนำไปอ้างอิง
สารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ทรี
แร่ เพอร์ไลท์ & ซีโอไลท์
อีกหนึ่งทางเลือกในการปรับปรุงดิน

คุณสมบัติธาตุประกอบ

Silica – Silicon Dioxide ( SiO2 ) 71.67% (ซีลีก้า-ซีลีคอน )

Aluminum Oxide ( Al2O3 ) 13.45% (อะลูมินัม )

Iron(III) oxide ( Fe2O3) 1.43% (เหล็ก )

Potassium oxide (K2O) 4.31% (โพแทสเซียม)

หมายเหตุ ธาตุประกอบในสารบำรุงดินแฮ็ปปี้ทรี อาจเปลี่ยนแปลงไปจากแร่เพอร์ไลท์ดิบ เนื่องจากขบวนการผลิต และส่วนผสมอื่นๆ อันเป็นสูตรเฉพาะของบริษัท ฉะนั้นธาตุประกอบในแร่เพอร์ไลท์ดิบ จึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงกับสารบำรุงดินแฮ็ปปี้ทรีได้

เพอร์ไลต์(Perlite) หินภูเขาไฟ (Volcanic rock) ชนิดหนึ่ง เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ มีเนื้อละเอียดหรือเป็นแบบแก้ว มีส่วนประกอบทางเคมีอะลูมิน่าซิลิเกตกลาส

เพอร์ไลต์มีธาตุซิลิก้า(SiO2) มีคุณสมบัติเด่นในการดูดซับความชื้นได้ดี ทำให้สภาพข้างเคียงโดยรอบชุ่มชื้นสะสมอยู่ในรากพืชมากช่วยทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อความแห้งแล้งมีอยู่ในโครงสร้างของผนังเซลล์ ช่วยลดการสูญเสียน้ำ
และทนทานต่อการติดโรคช่วยเพิ่มความเจริญเติบโต ลดความเป็นพิษของธาตุแมงกานีส เหล็ก อะลูมิเนี่ยม ที่มีอยู่ในสารละลาย

ดินมากเกินไป ช่วยเพิ่มความหวานให้อ้อยและมีลำต้นแข็งแรงลดอัตราการระเหยของน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีใบตั้งตรงรับแสงได้ดี รากสามารถรับอ๊อกซิเจนได้เพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนดีขึ้น ช่วยดูดซับธาตุไนโตรเจน

เพอร์ไลต์มีธาตุอะลูมิเนียม(Al) และมีธาตุโซเดียม (Na) ธาตุจำพวกโซเดียมอะลูมิเนียมซิลิเกต มีคุณสมบัติในการปรับสภาพความเป็น กรด และยังสามารถดูดซึมก๊าซหรือสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ได้ดี

เพอร์ไลต์มีธาตุเหล็ก(Fe) ช่วยในขบวนการหายใจ และช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์ในการปรุงอาหารของพืช และเป็นอาหารเสริมซึ่งพืชต้องการปริมาณน้อย

เพอร์ไลต์มีธาตุโพแทสเซียม(K) ทำให้เปลือกลำต้นแข็งแรง ไม่หักโค่นหรือล้มง่าย ช่วยกระบวนการสร้างน้ำตาลและแป้งที่สะสมในพืช ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้ง และน้ำตาลไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช ช่วยในการแบ่งเซลล์ ช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคดีขึ้น ผลที่ตามมาคือออกดอกติดผลดี แต่หากมีการเร่งดอกเร่งผลมากก็จะทำให้ต้นไม้นั้นทรุดโทรมและตายเร็ว

เพอร์ไลต์มีน้ำ(H2O) เป็นตัวประสานธาตุต่างๆ ให้อิ่มตัว ทำละลายแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ทั้งยังให้ความชุ่มชื้นแก่พืชและบริเวณใกล้เคียง

สภาพทางกายภาพ มีความโปร่งรูพรุนเป็นธรรมชาติ และเมื่อได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นก็จะขยายตัว 5 - 20 เท่า ทำให้มีความโปร่งและเป็นโพรง เมื่อเข้าไปผสมอยู่ในดินก็จะทำให้ดินมีสภาพโปร่ง สามารถดูดซับกลิ่นโดยเฉพาะแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งจะเป็นปุ๋ยที่ดีของพืช ความแข็งแรงทำให้สามารถพยุงเนื้อดินในการกดทับได้ดี เนื่องจากมีเม็ดผลึกที่สม่ำเสมอขนาดเท่าๆ กัน ประมาณ 1 – 2 มม. ทำให้ความโปรงและร่วนซุยของดินดีและสม่ำเสมอ เสมือนตัวกรองสารต่างๆ ทางธรรมชาติ

มีสภาพเป็นฉนวนกันความร้อนทางธรรมชาติเป็นการผ่อนคลายความร้อนที่สะสมตลอดวันให้แก่ต้นพืชและรากพืชที่อยู่ใต้ดิน สามารถใช้เป็นอินทรียวัตถุได้เนื่องจากมีกลุ่มจุลาตุ ประโยชน์

- สารกรอง

- ผสมสีทาบ้าน

- ทำผงขัด

- ดูดซับน้ำเสีย บำบัดน้ำเสีย

- เป็นวัสดุทนไฟผสมกับพอร์ตแลนด์ซีเมนต์

- เป็นฉนวนป้องกันความร้อน

- ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ทำให้ปูนแห้งเร็ว

- ปรับสภาพความเป็นกรดในน้ำ

- ปรับสภาพของดินทางด้านการเกษตร

- ใช้ขจัดกลิ่นเหม็นของก๊าซแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์

- เป็นวัสดุสภาพเบามีความแข็งแรงสูง ใช้เป็นวัสดุทดแทนวัสดุก่อสร้างที่มีน้ำหนักและ แข็งแรงน้อยกว่า เช่น อิฐก่อสร้าง
ส่วนผสมซีเมนต์และคอนกรีต

หมายเหตุ คุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติของแร่เพอร์ไลท์ดิบ ที่ยังไม่ได้ผ่านขบวนการผลิตเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรโดยตรง จึงมิอาจนำมาอ้างอิงกับสารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ทรี ได้

ติดตามผลหลังใช้ แฮ็ปปี้ทรี

ตรวจสอบระบบดิน ระบบรากพืช หลังใช้ได้ 7-10 วัน ดินนุ่มร่วนซุย ระบบรากยาวขาวอวบ ต้นแข็งใบตั้ง มีความเขียวงามทนนาน หากนำมาคลุกเคล้ากับปุ๋ย ไนโครเจน สามรถดูดซับธาตุไนโตรเจน ไม่ให้ระเหยไปกับอากาศและน้ำได้ 100% ทำให้พืชใช้ประโยชน์จากธาตุไนโตรเจนที่ใส่ลงไปได้ทั้งหมด

ทราบหรือไม่ว่าดินมีหน้าที่อะไร และมีความสำคัญอย่างไร

หน้าที่และความสำคัญของดินที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชและการเกษตรกรรม กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

1. ดินทำหน้าที่เป็นที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำต้นของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคง แข็งแรง ขณะที่พืชเจริญเติบโต รากของพืชจะเติบโตชอบไชหยั่งลึกแพร่กระจายลงไปในดินอย่างกว้างขวางทั้งแนวลึกและแนวราบ ดินที่ร่วนซุยและมีชั้นดินลึก รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง สามารถเกาะยึดดิน ต้านทานต่อลมพายุไม่ทำให้ต้นพืชล้มหรือถอนโคนได้

2. ดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งนี้เนื่องจากธาตุอาหาร พืชจะถูกปลดปล่อยออกจากอินทรียวัตถุ และแร่ต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดิน ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย

3. ดินเป็นแหล่งที่เก็บกักน้ำหรือความชื้นในดิน ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดได้ง่าย เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงลำต้นและสร้างการเจริญเติบโต น้ำในดินจะต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมเท่านั้น ที่รากพืชสามารถดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ การรดน้ำพืชจนขังแฉะรากพืชไม่สามารถดึงดูดน้ำขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้ จะทำให้พืชเหี่ยวเฉาและตายในที่สุด

4. ดินเป็นแหล่งที่ให้อากาศในดิน ที่รากพืชใช้เพื่อการหายใจรากพืชประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต ต้องการออกซิเจนสำหรับการหายใจทำให้เกิดพลังงานเพื่อการดึงดูดน้ำ ธาตุอาหารและการเจริญเติบโต ดินที่มีการถ่ายเทอากาศดี รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง ดูดน้ำและ ธาตุอาหารได้มาก ทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลิตผลสูง

ความสำคัญของเนื้อดินที่มีต่อความเหมาะสมในการเพาะปลูก

1. ด้านการเตรียมดิน กลุ่มดินเหนียวและกลุ่มดินค่อนข้างเหนียวจะไถพรวนลำบาก กล่าวคือ เมื่อเปียกจะเหนียวจัด ถ้าแห้งก็จะแข็งจัดการเตรียมดินเพื่อการปลูกพืชทำได้ลำบากกว่ากลุ่มดินร่วนและกลุ่มดินทราย ซึ่งจะไถพรวนง่ายกว่า

2. ด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน กลุ่มดินเหนียวและค่อนข้างเหนียวจะมีความสามารถอุ้มปุ๋ย หรือธาตุอาหารพืชและน้ำไว้ในดินได้มากกว่ากลุ่มดินร่วนและดินทราย ดังนั้นถ้าเราสามารถทำให้ดินเหนียวและดินค่อนข้างเหนียวมีสภาพไม่แน่นทึบ ดินมีความโปร่งพอสมควร ดินพวกนี้จะปลูกพืชได้งามดี ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก ตรงข้ามกับกลุ่มดินร่วนและดินทรายซึ่งจะอุ้มน้ำและปุ๋ยได้น้อย ถ้าดินไม่ได้รับปุ๋ย หรืออินทรียวัตถุในดินมีอยู่น้อย พืชที่ปลูกมักจะไม่ค่อยงาม ต้องรดน้ำบ่อยใส่ปุ๋ยบ่อยๆ พืชจึงจะงอกงามดี

3. ความโปร่งและร่วยซุย ดินในกลุ่มดินเหนียวมักจะแน่นทึบต้องพรวนบ่อยๆ หรือต้องจัดการเรื่องการระบายน้ำให้ดี เพราะจะขังน้ำได้ง่าย ทำให้รากพืชเน่าและไม่สามารถดูดน้ำและปุ๋ยได้อย่างปกติ จึงต้องหาวิธีทำให้ดินพวกนี้โปร่ง เช่น
ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักผสมดินตอนเตรียมดินให้มากๆ ส่วนดินร่วนและดินทรายจะมีคุณสมบัติโปร่ง การระบายน้ำดี อากาศถ่ายเทดี เหมาะกับการเจริญเติบโตและการดึงดูดปุ๋ยและน้ำในดินของราก แต่บางครั้งดินที่มีทรายปนอยู่มากจะโปร่งจนเกินไป พืชขาดน้ำง่ายเพราะดินแห้งเร็ว ต้องรดน้ำบ่อยๆ ทำให้การดูแลลำบาก เราสามารถเพิ่มความอุ้มน้ำของดินร่วนและดินทรายได้ โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออินทรียวัตถุต่างๆ ผสมกับดินให้มากๆ ควรแปรสภาพดินเหนีสารบำรุงดิน แฮ็ปปี้ทรี

อัตราและวิธีใช้ แฮ็ปปี้ ทรี ให้ได้ประสิทธิภาพ

1.นำแฮ็ปปี้ ทรี ในอัตราส่วน 2 – 4 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน 50 กิโลกรัม

2.นำไปใช้ได้ทันที ในปริมาณที่ต้องการ
ประโยชน์ที่ได้รับจาก แฮ็ปปี้ ทรี สารปรับปรุงดิน

1.ช่วยให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสมบูรณ์

2.มีความต้านทานต่อโรค ประเภทเชื้อราได้ดี

3.เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อต้นอ่อน

4.เป็นส่วนประกอบสำคัญของขมูกข้าว

5.ช่วยเพิ่มน้ำหนักที่แห้งของเมล็ดพืชให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

6.ช่วยให้ปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า

HAPPY ANTIRA



แฮ็ปปี้ แอนติรา สมุนไพรสกัด ควบคุมและกำจัดโรคพืช แฮ็ปปี้ แอนติรา เป็นสมุนไพรสกัด ใช้สำหรับควบคุมและกำจัดโรคพืช มีคุณสมบัติในการยับยั้งและป้องกันการเจริญเติบโตของโรคพืชอย่างมี ประสิทธิภาพเมื่อใช้อย่างสม่ำเสมอจะสร้างความต้านทานแก่พืชในการป้องกันโรค พืชต่างๆ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ (นอกจากมีการระบาดอย่างรุนแรง) เหมาะสำหรับการทำพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนประกอบที่สำคัญ - ว่านน้ำ
- ฝักคูณ
- เปลือกซาก
- หมากแก่ ฯลฯ ประโยชน์ที่พืชได้รับ เช่น มะม่วง ป้องกันโรค แอนแทรกโนส
ทุเรียน ป้องกันโรค แอนแทรกโนส, โรคผลเน่า, โคนเน่า, รากเน่า
มะนาว, ส้ม ป้องกันโรค แอนแทรกโนส, โรคเมลาโนส, ผลเน่า, โคนเน่า, รากเน่า
เงาะ ป้องกันโรค แอนแทรกโนส, โรคช่อดอกแห้ง, โรคผลเน่า
องุ่น ป้องกันโรค แอนแทรกโนส, โรคราน้ำค้าง, โรคเถาแห้ง
ข้าว ป้องกันโรค โรคกาบใบเน่า, โรคใบขีดสีน้ำตาล,โรคใบไหม้, กาบใบแห้ง, โรคเน่าคอรวง
พริก, มะเขือ ป้องกันโรค โรคกุ้งแห้งพริก, โรคใบจุด, โรคแอนแทรกโนส
ถั่ว ป้องกันโรค ราสนิมถั่ว, โรคผลเน่า, โรคใบจุด
พืชตระกูลแตง ป้องกันโรค แอนแทรกโนส, โรคผลเน่า, โรคราน้ำค้าง, แบคทีเรีย
กล้วยไม้ ป้องกันโรค แอนแทรกโนส, โรคราสีเขียว, โรคใบจุด
มันฝรั่ง, มะเขือเทศ ป้องกันโรค โรคใบไหม้, แอนแทรกโนส
พืชตระกูลกะหล่ำ ป้องกันโรค ราน้ำค้าง, ใบจุด, โรคเน่า, โรคใบแห้ง, แบคทีเรีย
หอมแบ่ง, หอมหัวใหญ่ ป้องกันโรค แอนแทรกโนส, ใบจุสีม่วง, ราน้ำค้าง, โคนเน่า
กระเจี๊ยบเขียว ป้องกันโรค โรคใบจุด
หน่อไม้ฝรั่ง ป้องกันโรค โรคต้นไหม้, โคนเน่า
คะน้า ป้องกันโรค ราน้ำค้าง, ราแป้ง
เผือก ป้องกันโรค ใบไหม้, ใบจุดตาเสือ
สับปะรด ป้องกันโรค ยอดเน่า, ต้นเน่า

....................................................................................

HAPPY GLUE

Happy Glue

แฮ็ปปี้ กลู สารจับใบ ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการดูดซึม แฮ็ปปี้ กลู เป็นสารจับใบ ใช้เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมสารเคมีต่างๆ ทั้งยังช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำทำให้ประโยชน์จากสารเคมีทั้งชนิดน้ำ และผงแพร่กระจายได้ทั่วถึง สามารถจับใบได้ทนและนาน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารเคมีต่างๆ ที่เกษตรกรใช้ฉีดพ่นให้สามารถดูดซึมเข้าสู่ผิวใบได้เร็ว ทนต่อการชะล้างของฝนและการรดน้ำใช้ได้กับสารเคมีทุกชนิดที่ฉีดพ่น ส่วนประกอบที่สำคัญ - สารนอนไอโอนิค เซอร์แฟคแตนท์

- สารพาราฟฟินิคออยล์
- สาระสำคัญอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อพืช เปรียบเทียบ แฮ็ปปี้ กลู กับ สินค้าในท้องตลาด แฮ็ปปี้ กลู
1.ประหยัดสารเคมีได้มาก 20-40%
2.พืชสามารถดูดซับธาตุอาหาร และสารเคมีต่างๆ ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าและช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการให้ปุ๋ยทางใบ, สารเคมีทำให้ผลผลิตดี และมีคุณภาพ
3.ทำให้สารเคมีทั้งชนิดน้ำ, น้ำมันและผงผสมเข้ากันได้ดี
4.ช่วยให้สารเคมีที่ฉีดพ่น แผ่กระจายได้ทั่วถึงทำให้ประหยัดเวลา และแรงงาน
5.ช่วยรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ฉีดพ่น ไม่ให้อุดตัน สินค้าทั่วไปในท้องตลาด
1.ต้นทุนการใช้สารเคมีสูง
2.พืชดูดซับธาตุอาหาร และสารเคมีต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ได้น้อย
3.สารเคมีทั้งชนิดน้ำ, น้ำมันและผงผสมเข้ากันไม่ได้ดี
4.ต้องฉีดพ่นสารเคมีแช่นานๆ เพื่อให้แผ่กระจายได้ทั่วถึง ทำให้สิ้นเปลืองเวลา
5.บางครั้งทำให้อุปกรณ์ฉีดพ่นอุดตัน

..........................................................................
แฮปปี้ กลู (สารจับใบ)
รหัสสินค้า: 000005
ราคา 286.00 บาท
รายละเอียด: Happy Glue สารจับใบ
ส่วนประกอบ
- สารนอนไอโอนิค เซอร์แฟกแตนท์
- สารพาราฟฟินิกออยล์( 82% )ประโยชน์
1. ช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ
2. ทำให้ประโยชน์จากสารเคมีทั้งชนิดน้ำและผงแพร่กระจายได้ทั่วถึง
สามารถจับใบได้ทนและนานเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารเคมีต่างๆ ที่เกษตรกรใช้ฉีดพ่น ให้สามารถดูดซึมเข้าสู่ผิวใบได้เร็ว
3. ทนต่อการชะล้างของฝนและการรดน้ำ
4. ใช้ได้กับสารเคมีทุกชนิดที่ฉีดพ่นอัตราและวิธีการใช้
- 3.5 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

HAPPY RICE

แฮ็ปปี้ ไรซ์ อาหารเสริมสำหรับข้าวโดยเฉพาะ แฮ็ปปี้ ไรซ์ เป็นอาหารทางใบ ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว เพราะใช้แล้วจะทำให้ข้าวเจริญเติบโต กระตุ้นการแตกกอของข้าว ใบและลำต้นแข็งแรง ไม่เฝือใบจึงทำให้ต้านทานโรค ถ้าใช้สม่ำเสมอจะทำให้ข้าวมีเมล็ดต่อยอดจำนวนเพิ่มขื้นข้าวจะออกรวงสม่ำเสมอ เมล็ดข้าวลีบน้อยที่สุด ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ผลคุ้มค่า ส่วนประกอบที่สำคัญ - Compound Nitropotassium Aquencus agent
- Hormon like Substace Growth
- Amino acid
- Cytokinins
- Auxins ประโยชน์ที่พืชได้รับ 1. เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ทำให้ลำต้นแข็งแกร่ง
2. เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ทำให้ต้นข้าวแตกราก และใบใหม่อย่างรวดเร็ว
3. เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของต้นใบข้าวจะตั้งไม่เฝือใบ ต้านทานโรคและแมลง
4. เพื่อสร้างระบบรากที่แข็งแรงดูดอาหารได้เต็มที่
5. เพื่อกระตุ้นข้าวให้ออกรวงอย่างรวดเร็วสม่ำเสมอ
6. เพื่อกระตุ้นการผสมเกสร ทำให้เมล็ดข้าวเต่ง ป้องกันเมล็ดร่วงจำนวนเมล็ดลีบน้อย
7. เพื่อเร่งการเจริญเติบโต กระตุ้นการแตกกอของข้าว
8. เพื่อกระตุ้นการผสมเกสร ทำให้เมล็ดข้าวเต่ง ป้องกันเมล็ดร่วง

............................................................................................................
แฮปปี้ ไรท์ (สารสังเคราะห์)
รหัสสินค้า: 000007
ราคา 1,040.00 บาท
รายละเอียด:Happy Rice (สารสังเคราะห์)1. ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ทำให้ลำต้นแข็งแกร่ง แตกราก แตกกอและใบใหม่อย่างรวดเร็ว
2.ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของต้นทำให้ใบตั้งไม่เฝือใบต้านทานโรคเพื่อสร้างระบบรากที่แข็งแรงทำให้ดูดอาหารได้เต็มที่
3. ช่วยให้กระตุ้นข้าวออกรวงรวดเร็ว สม่ำเสมอ
4. กระตุ้นการผสมเกสร เมล็ดข้าวเต่ง ป้องกันเมล็ดร่วง เมล็ดลีบน้อย

HAPPY EMS

เร่งการเจริญเติบโต ป้องกันการหยุดชะงักของพืช

ส่วนประกอบ


สารสกัดจากพืชและสัตว์ อาทิ ยอดพืชผักต่างๆ ปลาตัวเล็กตัวน้อย และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช

คุณสมบัติ


1. เป็นสารอาหารที่เน้นในช่วงการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิดอย่างรวดเร็ว

2. ช่วยแก้ไขปัญหากรณีพืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต เพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปงอย่างได้ผล

3. ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ดี เพิ่มความสมบูรณ์แข็งแรง ทำให้ใบพืชมีสีเขียวเข้ม

4. พืชสังเคราะห์แสงได้ดี ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ลำต้นของพืชไม่แคระแกรน

5. ช่วยประหยัดการใช้สารเคมีได้มากกว่า 50-60%

HAPPY PROTECTOR

Happy Protector

แฮ็ปปี้ โพรเทคเตอร์ สมุนไพรกลั่นป้องกันและทำลายศัตรูพืช แฮ็ปปี้ โพรเทคเตอร์ เป็นสารสมุนไพรกลั่น ใช้ในการป้องกันและทำลายศัตรูพืชรวมไปถึงควบคุมการแพร่ระบาดของเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด หนอนกระทู้ผัก หนอนกอ หนอนห่อใบข้าง หนอนกินใบ ฯลฯ แฮ็ปปี้ โพรเทคเตอร์ ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี ซึ่งประกอบด้วย บอระเพ็ด กลอย หนอนตามอยาก ฯลฯ เปรียบเทียบ แฮ็ปปี้ โพรเทคเตอร์ กับ สินค้าในท้องตลาด แฮ็ปปี้ โพรเทคเตอร์
1.ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้
2.ไม่มีสารเคมีตกค้าง
3.ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
4.ป้องกันก่อนที่โรคและแมลงระบาด
5.แมลงศัตรูธรรมชาติมีชีวิตและเจริญพันธุ์ต่อไป
6.ไม่ต้องเพิ่มปริมาณการใช้
7.เป็นที่ต้องการของตลาด ผลผลิตขายได้ราคาดี
8.ลดมลพิษสารเคมี ไม่ทำลายระบบนิเวศน์
9.ลดต้นทุนการผลิต
10.ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
11. ประหยัดเงินตราต่างประเทศ
12.แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ สินค้าในท้องตลาด
1.เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
2.มีสารเคมีตกค้าง
3.มีผลกระทบกับสภาพแวดล้อม
4.ใช้ฉีดพ่นแก้ไขที่ปลายเหตุ
5.ฆ่าแมลงศัตรูธรรมชาติตายไปด้วย
6.ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น (ดื้อยา)
7. ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ผลผลิตไม่ได้ราคา
8.เพิ่มมลพิษและทำลายระบบนิเวศน์
9.ต้นทุนการผลิตสูง เพราะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น
10.เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
11.เงินรั่วไหลออกนอกประเทศ
12.แก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ

HAPPY PLENTY

Happy Plenty

แฮ็ปปี้ เพลนตี้ สารอาหารธรรมชาติเพิ่มผลผลิต แฮ็ปปี้ เพลนตี้ มีการผสมผสานระหว่างวัตถุดิบจากธรรมชาติและแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อข้าว, ไม้ผล, ไม้ดอก, พืชไร, พืชผักกินผล, ผักกินใบ, หัวหอม, กระเทียมฯลฯ ในช่วยระหว่างการให้ผลผลิตอย่างเหมาะสม ทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นในแต่ละรอบการผลิต ทั้งยังเหมาะสำหรับการผลิตผลไม้นอกฤดูและช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยมากกว่า 70% ส่วนประกอบที่สำคัญ - กล้วย - มะละกอ
- เปลือกสับปะรด - ขนุน
- หัวใชเท้า - ข้าวโพด
- ฝักทอง - ฟอสฟอรัส
- โพแทสเซียม - โบรอน
- แมกนีเซียม - เหล็ก
- สังกะสี - เนื้อปลา
- ข้าวโพดอ่อน - และส่วนต่างๆ ของสัตว์ เปรียบเทียบ แฮ็ปปี้ เพลนตี้ กับ สารเคมีในท้องตลาด สารอาหารธรรมชาติเพิ่มผลผลิต Happy Plenty
1.พืชอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารจากธรรมชาติ
2.ผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารพิษ
3.ช่วยยืดระยะเวลาการเก็บเกี่ยวนานขึ้น
4.ผลผลิตได้รูปทรงสวยงามตามธรรมชาติ
5.ผลิตภัณฑ์มีราคาไม่แพง แต่ได้ผลตอบแทนสูง
6.มีธาตุอาหารตรงตามระยะที่พืชต้องการโดยเฉพาะ
7.มีสี รสชาติธรรมชาติ ไม่มีสารพิษตกค้าง
8.รักษาสมดุลธรรมชาติ ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
9.ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์
10.ไม่ต้องเพิ่มปริมาณการใช้
11.เป็นที่ต้องการของตลาด ผลผลิตขายได้ราคาดี
12.ลดมลพิษสารเคมี ไม่ทำลายระบบนิเวศ
13.ลดต้นทุนการผลิต
14.มีธาตุอาหารหลากหลายชนิดเพิ่มเติม
15.เป็นระบบการเกษตรแบบยั่งยืน สินค้าสารเคมีในท้องตลาด
1.พืชมีการเจริญเติบโตได้ด้วยการเร่งที่ผิดธรรมชาติ
2.ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารเคมี
3.ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวสั้น พืชโทรมไว้เพราะถูกเร่งด้วยสารเคมี
4.มีผลผลิตที่รูปทรงผิดเพี้ยน หรือไม่ได้มาตรฐาน
5.ผลผลิตมีราคาแพง ต้นทุนสูง การผลิตสูง
6.ต้องใช้ผลิตภัณฑ์หลายชนิด
7.มีสารเคมีตกค้าง
8.มีผลกระทบกับสภาพแวดล้อม
9.สูญเสียเงินตราทำให้ขาดดุลการค้า
10.ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น
11.ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
12.เพิ่มมลพิษ และทำลายระบบนิเวศ
13.ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ
14.ต้องใช้ผลิตภัณฑ์หลายชนิด
15.เป็นระบบการเกษตรที่ไม่ยั่งยืน

HAPPY M-1


Happy M-1

แฮ็ปปี้ เอ็ม – วัน ปุ๋ยน้ำอาหารเสริมสำหรับพืช แฮ็ปปี้ เอ็ม – วัน เป็นอาหารเสริมทางใบที่สำคัยและจำเป็นต่อการเจริญเติบโตผลิดอกออกผลของพืช ประกอบด้วยธาตุอาหารในรูปคีเลท (CHELATE FORM) ที่พืชสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที ส่วนประกอบที่สำคัญ - แมกนีเซียม (Mg) 0.5%
- เหล็ก (Fe) 1.5%
- สังกะสี (Zn) 0.5%
- แมงกานีส (Mn) 1.5%
- ไบรอน (B) 0.3%
- กำมะถัน (S) 4.0%
- ทองแดง (Cu) 1.5%
- อินทรีย์สาร 3.0%
- วิตามิน (B1, B2, B6, B12) 10 มิลลิกรัม / 100 กรัม ประโยชน์ที่พืชได้รับ 1. พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารต่างๆ ที่อยู่ในส่วนประกอบของอาหารเสริมสำหรับพืช แฮ็ปปี้ เอ็ม – วัน ได้เร็วช่วยให้พืชดำรงอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์สูงสุด ซึ่งจะทำให้พืชมีความทนทานฟื้นฟูสภาพที่ทรุดโทรมขณะที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ ไม่เหมาะสม
2. เพื่อช่วยเสริมสร้าง การเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์สูงสุดให้ลำต้น ดอก ใบ และผลของพืช ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
3. ช่วยในการพัฒนาใบ และผล ลดการหลุดร่วงขยายขนาดของผล เพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตพืช ผัก ผลไม้ มีโครงสร้างที่ดีเก็บไว้ได้นาน รสชาติดีขึ้นช่วยให้เกษตรกร สามารถขยายขอบเขตการตลาด
4. นอกจากจะช่วยส่งเสริมโครงสร้างของพืชให้สมบูรณ์แข็งแรง ป้องกันการเข้าทำลายของโรคพืชและแมลงศัตรูพืชแล้วยังมีส่วนประกอบของจุลทรี ยกำจัดโรคพืช เช่น โรคแคงเกอร์, โรคแอนแทรกโนส, โรคราน้ำค้าง, โรคยอดแห้งตาย, โรครากเน่า โคนเน่า เป็นต้น
5. สามารถใช่ร่วมกับผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพื่อกำจัดโรคพืช และแมลงศัตรูพืชทุกชนิดหรือผลิตภัณฑ์เคมีที่เกษตรกรใช้อยู่ปัจจุบัน
6. ช่วยเพิ่มขยายรากพืชทุกชนิดอย่างรวดเร็ว

.....................................................................................................
แฮปปี้ เอ๊ม-วัน
รหัสสินค้า: 000006
ราคาปกติ 650.00 บาท
ประหยัด 195.00 บาท
รายละเอียด:ฮอร์โมนพีช Happy M-1ผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร ปุ๋ยน้ำ Happy M-1 (สำหรับพืชทุกชนิด)
1. ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเจริญเติบโตของพืช เร่งการออกดอกและเร่งการให้ผลผลิต
2. ช่วยเพิ่มจำนวนดอก ความสมบูรณ์ของดอก และคุณภาพผลผลิต
3. ช่วยให้กล้าไม้เจริญเติบโตสมบูรณ์ตั้งตัวได้เร็ว แข็งแรงมีภูมิต้านทาน
4. ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ การงอกของเมล็ดพืช ผัก และท่อนพันธุ์กระตุ้นการงอกของราก
5. ช่วยประหยัด และลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง
6. ใช้ได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของพืช
7. ช่วยป้องกัน และกำจัดแมลงได้
8. ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อคน และสัตว์

HAPPY CROW

Happy Crow

สารอาหารบำรุงพืช กระตุ้นการแตกกอ แตกกิ่ง เร่งการออกดอกออกผล

ส่วนผสม

ไนโตรเจน, ฟอสโฟรัส, โปตัสเซียม,ไคโตซาน, สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว

คุณสมบัติ
1. เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด 2. เร่งการแตกยอด แตกกิ่ง แตกกอให้กับพืชทุกชนิด 3.เพิ่มความทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อมการเพาะปลูก 4. ช่วยให้พืชมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และต้านทานต่อโรคได้ดี

DEFANDER3


แฮ็ปปี้ ดีเฟนเดอร์ สูตร 3
แฮ็ปปี้ ดีเฟนเดอร์ สูตร 3

สมุนไพรสกัดควบคุมและกำจัดด้วงหมัดผัก

มีสารสกัดสำคัญจากหางไหลแดง ซึ่งในหางไหลแดงมีสารออกฤทธิ์ชื่อโรติโนน (ROTENONE) ซึ่งเป็นพิษต่อด้วยหมัดผัก โดยการใช้ฉีดพ่นหรือเทลงทางดินเพื่อทำลายตัวอ่อน และสารโรนิโนนเป็นสารที่สลายตัวเมื่อถูกความร้อนและแสงจึงไม่มีสารพิษตกค้างในพืชผัก สามารถควบคุมและกำจัดด้วยหมัดผักได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนประกอบที่สำคัญ

- ยาสูบ
- ต้นสบู่เลือด
- หางไหลแดง ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี

มีคุณสมบัติในการควบคุมและกำจัดหนอน

ด้วยหมัดผักในพืชผัก
เช่น ด้วยหมัดผักหรือด้วยหมัดกระโดด หรือกระเจ๊า ที่เกษตรกรนิยมเรียกกัน มักมีการระบาดมากในพืชตระกูลกะหล่ำ, พืชตระกูลแตง โดยจะกัดกินใบเป็นรูพรุน โคนต้น ส่วนตัวอ่อนจะกัดกินที่รากผักทำให้พืชผักเหี่ยวเฉา ไม่เจริญเติบ ถ้ารากถูกทำลายมากๆ อาจทำให้พืชผักตายได้ ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ถ้าพบการระบาดในแปลงก็ยากที่จะใช้สารเคมีกำจัด

DEFANDER2

แฮ็ปปี้ ดีเฟนเดอร์ สูตร 2 สมุนไพรสกัดควบคุมและกำจัดหนอน มีสารสกัดจากสะเดาเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งในสะเดามีสารออกฤทธิ์ชื่ออะซาไดแรคติน (AZADIRACHTHIN) เป็นสารที่สำคัญที่สุดในการควบคุมและยับยั้งหนอนที่เป็นศัตรูพืช, การลอกคราบ, การเจริญเติบโตของไข่อย่างได้ผล ที่สำคัญสารออกฤทธิ์มีประสิทธิภาพเหมือนสารเคมีสังเคราะห์ จึงสามารถควบคุม ลดปัญหาการระบาดและกำจัดหนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประกอบที่สำคัญ - บอระเพ็ด
- ยาสูบ
- สะเดา ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี มีคุณสมบัติในการควบคุมและกำจัดหนอน หนอนในนาข้าว
เช่น หนอนม้วนใบ, หนอนกระทุ้ฯลฯ เมื่อมีการะบาดจะทำความเสียหายโดยกัดกินต้นใบและลำต้น ทำให้ข้าวไม่สามารถออกรวงที่สมบูรณ์ได้ หนอนในไม้ผล
เช่น หนอนชอนใบส้ม, หนอนชอนใบมังคุด, หนอนแก้วส้ม, หนอนคืบกินใบ, หนอนกินช่อฯลฯ ส่วนใหญ่ทำความเสียหายให้กับพืชโดยมีการกัดกินใบอ่อนยอดอ่อน ทำให้ใบแคระแกน บิดเบี้ยว ขาดความสมบูรณ์ และมีการเจาะเข้าไปกัดกินไม้ผล ทำให้ผลผลิตของเกษตรเสียหาย หากมีการระบาดมากอาจทำให้พืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต หนอนในพืชผัก
เช่น หนอนใยผัก, หนอนกระทู้หอม, หนอนกระทู้ผัก, หนอนกะหล่ำ, หนอนเจาะลำต้น, หนอนเจาะฝักถั่วฯลฯ ส่วนใหญ่ตัวหนอนจะกัดกินที่ผิวใบ เจาะเข้าไปในลำต้น ก้านดอก ฝัก และกัดกินตามส่วนต่างๆ ของพืชผัก สร้างความเสียหายต่อผลผลิตของเกษตรกรเป็นอย่างมากส่วนใหญ่จะแพร่ระบาดในพืช ตระกูลผักทุกชนิด

DEFANDER1



แฮ็ปปี้ ดีเฟนเดอร์ สูตร 1 สมุนไพรสกัดควบคุมและกำจัดเพลี้ยกระโดด มีสารสกัดจากกลอยเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งในกลอยจะมีสารออกฤทธิ์ชื่อไพรีทริน (PAIRITIN) ที่เป็นสารที่สำคัญที่สุด สามารถควบคุมและกำจัดเพลี้ยอีกทั้งยังทำให้ไข่เพลี้ยฝ่อ ช่วยลดการแพร่ระบาดอย่างได้ผล ส่วนประกอบที่สำคัญ - หัวกลอย
- ลูกลำโพง
- ใบขี้นิล ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี มีคุณสมบัติในการควบคุมและกำจัดเพลี้ย เพลี้ยในนาข้าว
เช่น เพลี้ยจักจั่น, เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลฯลฯ สารระบาดของเพลี้ยในนาข้าวสร้างความเสียหายต่อการเพาะปลูก ซึ่งกำจัดได้ยากมาก ส่งผลให้ผลผลิตเกินกว่าครึ่งของพื้นที่เพาะปลูกถูกทำลาย ถึงแม้เกษตรกรจะใช้สารเคมีที่มีราคาแพงก็ไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งยังมีสารพิษตกค้างในเมล็ดข้าว เพลี้ยในไม้ผล
เช่น เพลี้ยไฟ, เพลี้ยแป้ง, เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน, เพลี้ยจักจั่นมะม่วงฯลฯ จะทำให้การเจริญเติบโตของไม้ผลหยุดชะงัก เพราะมีการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลกระทบถึงผลผลิตตั้งแต่ระยะเริ่มติดผล จนกระทั่งผลโตเต็มที่ทำให้ได้ผลผลิตที่ขาดความสมบูรณ์ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งพบการระบาดในมะม่วง, ส้มโอ, ส้มเขียวหวาน, มังคุด, เงาะ, ทุเรียน, ลิ้นจี่, ลำไย เพลี้ยในพืชผัก
เช่น เพลี้ยอ่อนทุกชนิด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟพริกฯลฯ จะทำให้พืชดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า 80% หากระบาดรุนแรงพืชจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตและแห้งตายในที่สุด ซึ่งจะระบาดใน ผัดตระกูลกะหล่ำ, มะเขือเทศ, มะเขือยาว, มะเขือเปราะ, พริก, พืชตระกูลแตง, ถั่วฝักยาว, หน่อไม้ฝรั่ง, ถั่วลิสง เป็นต้น