Saturday, July 23, 2011

อ้อย จ.ขอนแก่น 25 ตัน/ไร่

อ้อย จ.ขอนแก่น 25 ตัน/ไร่
http://youtu.be/mcy_rQCPmCM
http://youtu.be/lFkhzwU0S90
http://youtu.be/h2N6-Ff0oXc
อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ   สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ  มีอายุเก็บเกี่ยว  10-12 เดือน  โดยทั่วไปเก็บผลผลิตได้  2-3  ปี   สภาพแวดล้อมพันธุ์  และการบำรุงดูแลรักษา  เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและ คุณภาพของอ้อย  สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้  5-6 ปี  โดยที่ปริมาณการเก็บเกี่ยวคงที่  อ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท   ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ราบ อาจมีปัญหามากในการปลูกอ้อยในดินเหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง  แต่ถ้าการจัดการดี  บำรุงดินดี  ไม่มีน้ำท่วมขัง  ก็สามารถปลูกได้
การเตรียมพันธุ์

พันธุ์ อ้อยควรมาจากแปลงอ้อยที่เจริญเติบโตดี   ตรงตามพันธุ์  ปราศจากโรคและแมลง  มีอายุประมาณ  8-10  เดือน   ถ้าต้องทิ้งพันธุ์อ้อยที่ตัดไว้แล้วในไร่ ควรคลุมท่อนพันธุ์ด้วยใบอ้อยแห้ง เพื่อป้องกันตาอ้อยแห้ง  เกษตรกรควรมีแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 7-8 เดือน)  ปลูกขยายได้ 10  ไร่ ควรแช่ท่อนพันธุ์  หรือฉีดพ่นท่อนพันธุ์  ก่อนทำการปลูก  เพื่อป้องกันโรคใบขาว  กอตะไคร้ โรคแส้ดำ  เหี่ยวเน่าแดง  และกลิ่นสัปปะรด  ด้วยผลผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้  ในอัตราส่วนต่อน้ำ  20 ลิตร
Pic Clue Antira EMS
แฮ็ปปี้ กลู  3-5 ซีซี. แฮ็ปปี้ แอนติรา  50 ซีซี. แฮ็ปปี้ อีเอ็มเอส  20-30 ซีซี.
ฤดูกาลปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน  สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็น  2  ประเภท คือ
การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น  2  เขต  คือ                                                                                     
- ในเขตชลประทาน  (20%  ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ)  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง

    เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน
-  ในเขตอาศัยน้ำฝน  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง  เดือนเมษายน  -  มิถุนายน
การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)  สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวัน  ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดี  และดินเป็นดินทราย  หรือดินร่วนปนทราย   การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลาง  เดือนตุลาคม-ถึงเดือนธันวาคม  ซึ่งจะได้เปรียบในเรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิต  ได้มากกว่า  ค่า CCS.  สูงกว่า  อ้อยต้นฝน  เพราะมีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนานถึง  12 เดือน  ซึ่งอ้อยต้นจะมีอายุการเก็บเกี่ยว  9-10 เดือน
การเตรียมดิน

ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ  และควรไถให้ถึงดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลูกอ้อยใหม่โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
-  ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน  ไม่จำเป็นต้องไถพรวนให้ดินแตก  หรือละเอียดมาก  เพราะถ้าหน้าดิน  ละเอียดมาก  แล้วใส่น้ำลงไปจะทำให้หน้าดินแน่น  เมื่อหน้าดินแห้งแข็ง  หน่ออ้อยไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้  และจะทำให้หน่ออ้อยเน่าตาย
-  อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้อยข้ามแล้ง  ต้องไถพรวนหน้าดินให้ลึกมากจะได้ความชื้นในดินมาก  และให้แตกละเอียด  เพื่อช่วยลด  ความสูญเสียความชื้นภายในดินให้ช้าลง  วิธีปลูกอ้อยข้ามแล้ง  มี  2 วิธี
1.ถ้าปลูกเดือนตุลาคม  ความชื้นในดินมีมากพอ  ไม่จำเป็นต้องใส่น้ำก่อนปลูก
2.ถ้า ปลูกเดือน  ธันวาคม-มกราคม  ควรใส่น้ำก่อนวางท่อนอ้อย  แล้วไถกลบ  ไม่ควรไถกลบก่อนแล้วใส่น้ำ  เพราะจะทำให้หน้าดินแน่น  หน่ออ้อยขึ้นยาก  หรืออาจขึ้นไม่ได้
วิธีการปลูก

-  ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง  1.4-1.5 เมตร  (เดิมใช้ 1.3 เมตร)  วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว  เกยกันครึ่งลำหรือ 2 ลำคู่  ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
-  ถ้าใช้เครื่องปลูก  หลังจากเตรียมดินแล้ว   ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์  โดยจะมีตัวเปิดร่อง   และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ   และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง   และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย   ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่   โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว  1.4-1.5 เมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก   และจะปลูกแถวคู่  ระยะแถว  1.4-1.5  เมตร  ระยะระหว่างคู่แถว  20-30   เซนติเมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
การใส่ปุ๋ย

โดยแบ่งใส่ปุ๋ยเป็น  2  ครั้ง
ใส่ปุ๋ยครั้งแรก : ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ไถ พลวน ชักร่องแล้วปลูก  โดยใช้สูตรต่อไปนี้  ต่อพื้นที่  10 ไร่
ปุ๋ยเคมีสุตร  21-7-18 = 6  กระสอบ Pic Happy Tree Pic EMS
สารปรับปรุงดิน  แฮ็ปปี้ ทรี  20 ถุง สารแตกราก แตกหน่อ  แฮ็ปปี้  อีเอ็มเอส  1 ขวด
                          สำหรับรองพื้นในพื้นที่  10 ไร่  อาจใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ร่วมด้วย


ส่ปุ๋ยครั้งที่สอง : ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 – 4 เดือน
ปุ๋ยเคมีสูตร  21-7-18 = 6กระสอบ Pic Happy Tree Pic Plenty Pic Crow
สารปรับปรุงดิน  แฮ็ปปี้ ทรี  20 ถุง   สารเพิ่มค่า  CCS.  แฮ็ปปี้ เพลนตี้  1 ขวด สารเร่งการเจริญเติบโต  แฮ็ปปี้ โกร์ว  1 ขวด
                                      ใส่ในพื้นที่  10 ไร่  แต่งหน้าครั้งสุดท้าย

การป้องกันกำจัดวัชพืช

-ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ  4  เดือน

-ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก  เมื่อมีวัชพืชงอก

-ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อคุมฆ่า
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก

- การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว   เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ   อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความ หวาน  และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช   และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอแนวทางแก้ไข  คือ  ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่ (กองรวมกัน)  ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งไว้ในไร่
- การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว  เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ   หลังจากที่มีหน่องอกแล้วและทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย   แต่มีผลเสียตามมา  คือ
*  เป็นการทำลายวัตถุอินทรีย์ในดิน
*  ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
*  หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
*  มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
*  มีหนอนกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข  คือ  ใช้เครื่องสับใบอ้อย  คลุกเคล้าลงดิน  ระหว่างแถวอ้อย  และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ  ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที

จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
- การเผาใบก่อนการเตรียมดิน  เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก  เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ

มีผลเสียตามมาคือ  เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ  ดินอัดแน่นทึบ  ไม่อุ้มน้ำ  น้ำซึมลงได้ยาก

แนวทางแก้ไข  คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย  และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน  ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียมดิน

No comments:

Post a Comment